ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 1' 12.576"
17.02016
Longitude : E 99° 44' 1.32"
99.7337
No. : 169035
ไซดักกบ
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Sukhothai
0 3509
Description
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ ไซดักกบ ประเภทและลักษณะ ไซดักกบจะสานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมเล็ก รูปทรงกระบอกขนาดเล็กกว่าไซปลากระดี่ ยาวประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร ดักน้ำไหลริน ๆ หรือน้ำนิ่งก็ได้ ใช้ดักกบ อาจใช้เหยื่อ เช่น ลูกปลา หรือลูกปูใส่ล่อไว้ กบจะเข้าไปกินเหยื่อล่อทางช่องงา และไม่สามารถออกมาได้ ประวัติความเป็นมา ไซดักกบเป็นเครื่องมือในการจับกบตามท้องนาชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันมากโดยใช้หลักการล่อด้วยเหยื่อ ให้กบหลงกล และตกเข้าไปในตัวไซโดยผ่านทางช่องงา ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่ วิธีทำ ลักษณะการทำงานของไซดักกบ มีดังนี้ 1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ ผู้สานไซดักกบต้องเตรียมวัสดุในการสานคือ 1.1 ตอกซั่ง ความยาวประมาณ 60-80 ซม. ลักษณะเส้นเหมือนเม็ดแตงโมตลอดความยาวปลายทั้งสองด้านทำให้เรียวเล็กน้อย เพื่อสะดวกในการทำส่วนคอให้คอดลงมีทั้งหมด 8 เส้น 1.2 ตอกสาน ความไม่จำกัดเส้นเหมือนตอกชั่ง แต่จะมีขนาดเล็กมีความอ่อนตัวกว่า 1.3 ตอกขัดกัน เป็นตอกซึ่งทำด้วยผิวไม้ไผ่ มีขนาดยาวเท่ากับตอก ซึ่งมีไว้สำหรับเป็นฐานในการก่อ มี 2 เส้น 1.4 ตอกสานปาก มีลักษณะเหมือนตอกสาน แต่เล็กกว่ามากใช้สานส่วนที่เป็นปากไซ 2. วิธีการผลิต 2.1 นำตอกซังจำนวน 4 เส้น แต่ละเส้นให้จัดสุดกึ่งกลางไว้ แล้วไปม้วนรอบตอกขัดกัน 1 รอบ จะได้ตอซิ่วเป็นจำนวน 2 เท่า โดยให้จุที่ม้วนของตอกซังห่างกันประมาณ 1 ซม. แล้วใช้ตอกสานมาสานตอกซิ่งทั้ง 8 เส้น สานลายขัดจำนวน 3 เส้นของตอกสาน 2.2 นำตอกซังจำนวนที่เหลืออีก 4 เส้น ทำลักษณะเดียวกันกับข้อ 2.1 จะได้ส่วนของไซแยกจากกัน 2 ด้าน ที่มีลักษณะเหมือนกัน 2.3 นำส่วนที่ได้ตามข้อ 2.2 มาประกบเข้ากัน แล้วนำตอกสานทั้ง 3 เส้นของแต่ละด้านมาสานลายขัดกัน 3 เส้น แล้วใช้ตอกเส้น ๆ มัดไว้ รอบด้านที่เหลือเข้าสานสายขัดอีก 3 เส้น มัดด้วยตอกเหมือนกันกับด้านตรงข้าม ตอกสานด้านละ 3 เส้นนี้ เมื่อสานรวมเข้ากันจะเป็นตอกซังทั้งหมด (12 เส้น) ในขณะที่จะมีตอกซิ่ว ในขณะที่มีตอกซิ่วรวม 28 เส้น และส่วนท้าย (ก้น) ของไซจะมีช่องโหล่ไว้เพื่อประโยชน์ในการนำเอากบออก 2.4 นำตอกสานมาสานตอกซังเป็นลายขัดให้ได้รูปทรงของไซ สานไปถึงแนวที่จะใช้เป็นส่วนคอ (ในขณะที่สานผู้สานต้องดึงตอกสานให้แน่นจะได้รูปร่างตามที่สาน) 2.5 เมื่อสานถึงส่วนที่จะเป็นคอ พยายามถึงตอกสานให้รูปทรงของไซมีลักษณะกิ่วเข้าแล้วใช้กะลามะพร้าวหรือไม้เนื้ออ่อนทำลักษณะเป็นรูปกรวย หรือก้นตอกมาเสียบเข้าส่วนตอกชั่งหรือเหลือจะบานออก 2.6 นำตอกสานปากซิ่วมีขนาดเล็ก สานตอกซังด้วยลายสอง (ยก 2 ข่ม) สานไปเรื่อย ๆ จนเห็นว่าส่วนปากได้ระดับละสวยงามตามความต้องการ 2.7 เมื่อได้ส่วนของปากตามต้องการแล้ว จะม้วนตอกซังในลักษณะเหมือนการม้วนปีกไก่จนรอบแล้วหักหรือตัดตอกซังส่วนที่เหลือทิ้งไป จะได้ใช้ตามที่ต้องการ บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา ใช้หลักล่อให้กบเข้าไปในไซโดยผ่านงา ซึ่งทำด้วยอาหารหรือเหยื่อที่เหม็นหรือทำด้วยปลาเน่า สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
Location
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
No. เลขที่ 382
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Details of access
Reference นายเหล็ง จันทร์ฉาย
No. เลขที่ 382
Tambon เมืองเก่า Amphoe Mueang Sukhothai Province Sukhothai
Tel. (055)633350, 087-201
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่