ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 12.576"
17.02016
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 1.32"
99.7337
เลขที่ : 169037
แหลวดักแย้
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 3091
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ แหลวดักแย้ ประเภทและลักษณะ แหลวดักแย้ เป็นเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับดักแย้ แหลวดักแย้ มีส่วนประที่สำคัญ คือ กระบอกคันไม้ไผ่สายบ่วงและลิ้น การทำงานชองแหลวอาศัยคันไม้ไผ่ที่มีลักษณะคันเบ็ดออกแรงตวัดสายและบ่วงให้ คล้องรัดคอ หรือตัวสัตว์ในให้ติดคากระบอกด้วงนั้นในทันทีที่สัตว์มุดกระบอกเข้าไปกระทบ ลิ้นในกระบอกด้วง ประวัติความเป็นมา - ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่, เชือก วิธีทำ การทำงานของแหลวดักแย้ คือ ตัวกระบอกด้วงเป็นกระบอกกลวงยาวประมาณ 3-4 นิ้ว กระบอกด้วงแบบนี้วางในลักษณะตั้งขึ้น ด้านหนึ่งกำหนดให้เป็นด้านหลัง เผื่อไม้เป็นกิ่งยื่นขึ้นทางด้านบนและยื่นลงทางด้านล่างเล็กน้อย สำหรับวางแนบกับคันไม้ไผ่และผูกรัดให้ติดแน่นเข้าด้วยกัน เมื่อประกอบคันไม้ไผ่ตืดกับกระบอกด้วงด้านนี้ต้องเผื่อให้โคนคันไม้ยาวยื่น พ้นตีวกระบอกลงมากประมาณ 1 คืบ ทางด้านหน้ากระบอกตอนกลางเจาะทางเป็นช่อง แบบปากหอยโข่งสำหรับสอดขัดลิ้น ใต้ช่องที่กล่าวนี้เจาะรูสำหรับร้อยเชือกสายบ่วงสองรูคู่กัน เมื่อจะติดตั้งด้วงดักแย้ก็ผูกสายบ่วงเข้ากับปลายคันไม้ไผ่ กลางสายบ่วงผูกติดกับโคนเข็ม คือไม้ไผ่ซีกยาวๆ เหลาให้กลมเรียว ปลายแหลมให้ปลายค้ำยันกับคันไม้ไผ่อยู่ค่อนมาทางโคนคันเพื่อช่วยเร่งสายบ่วง ให้ตึงยิ่งขึ้นสายบ่วงถัดมาผูกเช้ากับด้านลิ้นแล้ว สอดเข้าในช่องด้านหน้า กระบอกแหลว ทำหน้าที่ขวางช่องภายในกระบอก ส่วนปลายสายบ่วงที่เหลือนำสอดลง ในรูซึ่งเจาะไว้ที่ริมปากกระบอกต้อนล่างร้อยเข้าไปทำเป็นวงตามรูปช่องกระบอก แล้วสอดปลายสายบ่วงกลับขึ้นมา ทางรูที่แย้ใช้ขึ้นลงรังของมัน เมื่อถึงเวลาที่แย้ขึ้นมาพบว่าปากรูมีสิ่งหนึ่ง คือลิ้นของแหลวขวางทางอยู่ก็ จะออกแรงดัน ลิ้นก็จะหลุดจากที่เกาะ เกี่ยวเปิดโอกาสให้คันไม้ไผ่ซึ่งกันคอยที่อยู่ ตวัดกลับไปพร้อมกับกระตุก บ่วงรัดคอแย้ติดอยู่ในแหลวนั้นทันที บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับดักสัตว์สี่เท้าขนาดเล็ก แย้ สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเหล็ง จันทร์ฉาย
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055)633350, 087-201
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่