ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 37.9236"
17.027201
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 41' 36.492"
99.69347
เลขที่ : 169044
การใช้เกวียน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 4174
รายละเอียด
ชื่อ การใช้เกวียน ประเภทและลักษณะ เกวียนเป็นพาหนะอย่างหนึ่งของไทยที่ใช้กันมานาน เกวียนที่ใช้ในเมืองไทยส่วนใหญ่ สร้างด้วยไม้ประดู่และไม้แดงเนื่องจากมีความแข็งแรงทนทานใช้บรรทุกของหนัก ได้ดี ทั้งยังมีความยืดหยุ่นไม่หักง่ายเหมือนไม้อื่นๆ เราแบ่งเกวียนตามลักษณะการใช้และรูปทรงเกวียนเป็น 2 แบบ คือเกวียนวัวและเกวียนควาย เกวียนวัว มีลักษณะเตี้ยและกว้างกว่าเกวียนควาย มักใช้ในที่ดอนเช่นจังหวัดลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา อุดรธานี ลำปาก เชียงใหม่ ส่วนเกวียนควาย มีลักษณะสูงและยาวกว่าเกวียนวัว ใช้ในที่ลุ่มแถบนครนายกปราจีนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประวัติความเป็นมา ใน สมัยโบราณการเดินทางมักจะใช้พาหนะรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศเช่นช้าง เหมาะสำหรับการเดินทางในภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา ค่อนข้างจะทุรกันดารม้าเหมาะสำหรับเดินทางโดยลำพังและต้องการความรวดเร็ว ส่วน "เกวียน" เหมาะกับการเดินทางไกลโดยกลุ่มคนจำนวนมากที่ต้องมีเสบียงติดตัวไปด้วย "เกวียน" จัดว่าเป็นพาหนะชนิดล้อเลื่อนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีการใช้ อยู่ในปัจจุบัน หลักฐานการใช้เกวียนในประเทศไทยไม่ปรากฏชัดว่าเราเริ่มใช้เกวียนในสมัยใดมี เพียงพงศาวดารสมัยสุโขทัยตอน "พระร่วงส่งส่วนน้ำ" ได้กล่าวถึงการใช้เกวียน ความว่า "...นักคุ้มข้าหลวงขอมคุมมารับส่วนน้ำที่ทะเลชุบศร เมืองละโว้..." ซึ่งข้อความนี้พอจะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าถนนพระร่วงได้สร้างขึ้นมาในสมัย สุโขทัยตอนต้น ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างกำแพงเพชร (ชากังราว) กับสุโขทัย และในสมัยนั้นถนนเส้นนี้ได้ใช้เป็นทางเกวียนเพื่อบรรทุกสินค้าไปขายตามหัว เมืองต่างๆ ตลอดเส้นทางถนนพระร่วง ปัจจุบันยังพอมีการใช้เกวียนหลงเหลืออยู่บ้างในบางพิ้นที่ของประเทศเช่น จังหวัดสุโขทัย ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้แดง ไม้ประดู่ วิธีทำ การ บังคับวัวหรือควายเทียมเกวียนจะใช้วิธีเจาะจมูกร้อยสายตะพายโยงไปที่ผู้ขับ บนเกวียนถือสำหรับบังคับให้วัวหรือควายหยุดเดินหรือเลี้ยว ในการบังคับวัวหรือควายนั้นมีภาษาชาวนาหรือชาวเกวียนที่ใช้กับวัวหรือควาย อยู่ 2 - 3 คำคือคำว่า "ทูน" แปลว่า ชิดข้างใน "ถัด" แปลว่าชิดข้างนอก "ยอ" แปลว่า หยุด เป็นต้น บทบาทหน้าที่และความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน สมัยก่อนจะใช้เกวียนเป็นพาหนะของชาวบ้านในการเดินทาง เครื่องช่วยของเกษตรกรขนสิ่งของ การทำมาค้าขาย แต่ปัจจุบันยังพอมีหลงเหลือใช้งานอยู่บ้างในบางพื้นที่ชนบทตามต่างจังหวัดของไทย วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นพาหนะของชาวบ้านในการเดินทาง เครื่องช่วยของเกษตรกรขนสิ่งของ การทำมาค้าขาย สถานที่ วัดศรีชุม เมืองโบราณสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
วัดศรีชุม เมืองโบราณสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 055-697310
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่