ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 0' 51.7032"
17.014362
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 42' 32.5296"
99.709036
เลขที่ : 169045
การทำเครื่องสังคโลก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 3118
รายละเอียด
ชื่อ เครื่องสังคโลก ประเภทและลักษณะ สังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดี มีการเคลือบผิวและตกแต่งลวดลายงดงาม เผาด้วยความร้อนสูงมากประมาณ 1,150-1,280 องศาเซลเซียส เตาเผาและเทคนิคการเผาได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานนับร้อยปี ตั้งแต่สมัยต้นกรุงสุโขทัยจนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังที่มีเตาเผาปรากฏอยู่ที่อำเภอเมือง และอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และริมแม่น้ำน้อย อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ประวัติความเป็นมา การผลิตเครื่องสังคโลกในช่วงแรก ราวพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อประโยชน์ใช้สอย และค้าขายในชุมชนและหัวเมืองใกล้เคียง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 19 ชาวศรีสัชนาลัยสามารถสร้างเตาที่ใช้เผาเครื่องสังคโลกคุณภาพดี และดำเนินการผลิตจนสามารถส่งออกขายอย่างแพร่หลายในตลาดต่างแดนได้ในพุทธ ศตวรรษที่ 20-22 ราวพุทธศตวรรษที่ 21 มีการค้นพบคำคำหนึ่งในบันทึกของชาวญี่ปุ่น คือคำว่า ซันโกโรกุ (sunkoroku) เข้าใจว่าเป็นคำที่คนญี่ปุ่นพยายามออกเสียงโดยหมายถึง สวรรคโลก (แหล่งหรือเตาเผาที่เมืองศรีสัชนาลัย เดิมเรียก สวรรคโลก) ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นคำว่า “สังคโลก” โดยคนสยามอีกทีหนึ่ง เครื่องสังคโลกตามเหตุผลนี้จึงหมายถึง เครื่องปั้นดินเผาทุกชนิดที่ผลิตในแคว้นสุโขทัย กลุ่มผู้ซื้อไม่ว่าในประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ ต่างก็รู้จักกันในชื่อนี้ทั้งสิ้น ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง วัสดุที่ใช้ ดินเหนียว, น้ำเคลือบ วิธีทำ ขั้นตอนแรกเตรียมดิน คัดแยกสิ่งสกปรกเสาเจือปนต่างๆ ออก แล้วนำมาขึ้นรูป การขึ้นรูปจะใช้แป้นหมุนการขึ้นรูปชิ้นงานเช่น ถ้วย ชาม ไห แจกัน ของประดับตกแต่ง เป็นต้น หรือใช้วิธีการปั้นมือ เทวรูป พระพิฆเนศ เป็นต้น นำชิ้นงานมาตกแต่งเก็บรายละเอียด เสร็จแล้วนำมาตากให้แห้ง ก่อนจะนำมาเผา เรียกว่าเผาดิบ เมื่อได้ชิ้นงานที่ผ่านการเผาดิบจะนำมาชุบน้ำเคลือบที่เตรียมไว้แล้วค่อยนำไปเผา บทบาทหน้าที่และความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องสังคโลกที่สำคัญ พบเตาจำนวนมากตั้งเรียงรายอยู่บริเวณสองฝั่งของแม่น้ำยม ส่วนมากเป็น "เตาประทุน" หรือเตาชนิดระบายความร้อนผ่านในแนวนอน กลุ่มเตาที่สำคัญสองกลุ่มคือ กลุ่มเตาบ้านเกาะน้อย และกลุ่มเตาบ้านป่ายาง ในพุทธศตวรรษที่ 20 เครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัยเป็นสินค้าเศรษฐกิจที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมของ ท้องตลาด การผลิตสังคโลกในบริเวณศรีสัชนาลัยดำเนินกิจการในลักษณะอุตสาหกรรม โดยมีอาณาจักรอยุธยาซึ่งมีอิทธิพลด้านการเมืองเหนือสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ดำเนินธุรกิจในฐานะรัฐที่เป็นพ่อค้าคนกลางนำใส่เรือสำเภาออกไปขายตามเมือง ท่าทั้งในประเทศและ นอกประเทศ บันทึกการสั่งสินค้าของพ่อค้าฝรั่งชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาติดต่อค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า เครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัยยังคงเป็นสินค้าที่ยังเป็นที่นิยมอยู่ โดยเห็นได้จากจดหมายเกี่ยวกับการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาในปี พุทธศักราช 2157 กล่าวถึงความต้องการซื้อเครื่องถ้วยชามสังคโลกของพ่อค้าฮอลันดา และกล่าวถึงความนิยมของชาวญี่ปุ่นว่า ต้องการเครื่องสังคโลกของไทย วิธีการเรียนการสอน มีการแนะนำและส่งเสริมการฝึกอาชีพให้กับชาวบ้านในการทำเครื่องสังคโลก ประโยชน์ของภูมิปัญญา การทำเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสุโขทัย สถานที่ ร้านสุเทพสังคโลก เลขที่ 203/2 หมู่ 3 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย
สถานที่ตั้ง
ร้านสุเทพสังคโลก
เลขที่ เลขที่ 203
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สนอง พรมเพ็ชร
เลขที่ เลขที่ 203 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 3
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่