ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 37.9236"
17.027201
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 41' 36.492"
99.69347
เลขที่ : 169057
วัดศรีชุม
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1863
รายละเอียด
ชื่อ วัดศรีชุม อายุ สมัยสุโขทัย ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง เป็นโบราณสถานอยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สถานภาพของสถานที่ เป็นโบราณสถานได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมศิลปากร ความสำคัญในอดีต เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาประชุมทัพก่อนที่จะยกทัพ ไปปราบเมืองสวรรคโลก อันเป็นต้นตอของตำนานเรื่อง พระพุทธรูปพูดได้ ที่เล่าขานกันต่อมา สภาพทางภูมิศาสตร์ โบราณสถานตั้งอยู่บนที่ราบ สภาพทางเศรษฐกิจสังคม - ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม วัดศรีชุมมีสิ่งโดดเด่นคือ อุโมงค์ ในช่องผนังของมณฑป มีภาพจารลายเส้นบนแผ่นหินฉนวน เล่าเรื่องอดีตชาติต่างๆ ของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ชาดก บางภาพมีลักษณะศิลปกรรมคล้ายกับศิลปะลังกา โดยมีอักษรสมัยสุโขทัยกำกับบอกเรื่องชาดกไว้ด้วย นอกจากนี้ยังได้ค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 2 เรียกว่า จารึกวัดศรีชุม ที่เล่าเรื่องราวของการก่อตั้งราชวงศ์สุโขทัย ประวัติความเป็นมา สิ่งสำคัญที่ปรากฏอยู่โดดเด่นได้แก่ มณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ภายใน มีความสูง 15 เมตร ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 11.30 เมตร ที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า พระอจนะ มีความหมายว่า ผู้ไม่หวั่นไหว สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่ง “มุทรา” หรือท่วงท่าการวางพระหัตถ์ที่นำมาใช้กับพระพุทธรูปปางมารวิชัยนี้ ต้นตำรับชาวอินเดียให้ความหมายว่า “ความแน่วแน่ไม่หวั่นไหว” พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี่ พ.ศ. 2496-2499 อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประทับนั่งเต็มที่ภายในเช่นนี้ พบหลายแห่งทั้งในเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรเป็นอาคารที่ก่ออิฐคลุมส่วนบนที่เป็นหลังคาซึ่งแสดงว่าเป็นอาคารที่มีระดับศักดิ์สูง สำหรับที่นี้หมายถึงพระคันธกุฏีหรือกุฏิส่วนพระองค์ของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อมต่อกับด้านหน้าเป็นวิหารมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดันมีระดับศักดิ์ต่ำกว่า สำหรับเป็นสถานที่ให้สาธุชนใช้เป็นที่นมัสการองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในคันธกุฏี คำว่า ศรี มาจากคำเรียกพื้นเมืองเดิมของไทยว่า สะหลี ซึ่งหมายถึงต้นโพธิ์ ดังนั้นชื่อศรีชุม จึงหมายถีง ดงของต้นโพธิ์ แต่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่เข้าใจความหมายนี้แล้ว จึงเรียกสถานที่นี้ว่า ฤาษีชุม สถานที่สำคัญ มณฑปที่ภายในมีพระพุทธรูปปางมาวิชัยขนาดใหญ่
หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดศรีชุม
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 0-5569-7310
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่