ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 11' 21.3072"
17.189252
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 23' 16.062"
99.387795
เลขที่ : 169102
ซึงเล็ก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1375
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ ซึงเล็ก ประเภทและลักษณะ ซึง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี 4 สาย แต่แบ่งออกเป็น 2 เส้น เส้นละ 2 สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม. กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม. ทั้งกะโหลกและคันทวนใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็น โพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย สามารถแบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง (ซึงที่มีขนาดใหญ่) และแบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก 3 และซึงลูก 4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียง ซอล จะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก 4 เสียง ซอล จะอยู่ด้านบน) ประวัติความเป็นมา ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับปี่ซอ หรือ ปี่จุ่ม และ สะล้อ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ กะโหลกและคันทวนใช้ไม้เนื้อแข็ง สายของซึงใช้สายลวด บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นเครื่องดนตรีชาวไทยทางภาคเหนือ นิยมนำมาเล่นเป็นที่รู้จักกันคือ สะล้อ ซอ ซึง สถานที่ นายคำอ้าย หนานกุล บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
นายคำอ้าย หนานกุล
เลขที่ เลขที่ 29/
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลขที่ เลขที่ 29/ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านวังหาด
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่