ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 59' 45.7584"
16.996044
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 29' 36.0024"
99.493334
เลขที่ : 169111
คราด
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2646
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ คราด ประเภทและลักษณะ ตัวคราดจะทำด้วยไม้เนื้อแข็ง คราดมีส่วนประกอบ แม่คราด ลูกคราด มือคราด และคันคราด ส่วนที่เป็นแม่คราดทำจากแผ่นไม้ค่อนข้างหนาประมาณ 2 – 4 นิ้ว หน้ากว้างประมาณ 15 – 25 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 – 4 เมตร ใช้กบไสให้ผิวไม้ที่เป็นแม่คราดเรียบ เจาะรูด้วยสว่านให้รูกว้างพอที่ลูกคราดจะสอดใส่ไปได้ การเจาะรูในตัวแม่คราดให้ทะลุไม้ด้านบน การเจาะรูใส่ลูกคราดจะเว้นระยะห่างพอสมควร คราดอันหนึ่งเจาะรูใส่ไว้ประมาณ 10 – 15 ลูก ถ้าคราดใช้เทียมวัวเทียมควายตัวเดียว คราดจะมีขนาดเล็ก ลูกคราดจะมีน้อย แต่ถ้าเทียมวัวเทียมควาย 2 ตัว คราดยาว ลูกคราดมีมากขึ้น ส่วนที่เป็นลูกคราด เหลาให้เป็นซี่ ๆ มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร โคนลูกคราดโต ปลายที่ครูดกับดินเรียวแหลมตอกโคนลูกคราดสอดกับรูที่เจาะไว้ในตัวแม่คราด รูที่เจาะจะใช้สิ่วตกแต่งรูให้เป็นสี่เหลี่ยม โคนลูกคราดถากเป็นสี่เหลี่ยมด้วย หากใส่ลูกคราดไปในรูที่เตรียมไว้ไม่แน่นพอ ต้องใช้ลิ่มตอกแซมให้แน่น บางแห่งลูกคราดอาจใช้เหล็กท่อนยาวแทนไม้ มือคราด หรือที่จับคราดจะทำเป็นคันยาวเกือบเท่าตัวแม่คราด เจาะรูแม่คราดไว้ 2 รู ใช้ไม้ 2 ท่อน ตั้งเป็นเสาเข้าเดือยกับไม้ที่เตรียมไว้เป็นที่เป็นมือจับ มือจับคราดมักเหลาให้กลมเพราะจะได้ไม่เจ็บมือ คันคราดจะใช้ไม้ไผ่ เช่น ไม้รวก หรือไม้เลี้ยงที่แก่จัด 2 ลำ ยาวประมาณ 3 – 5 เมตร ใช้ไม้ส่วนโคนใส่ในรูที่เจาะไว้ตัวแม่คราด 2 รู ตอกลิ่มให้แน่น ส่วนปลายคันคราดใช้ลิ่มเจาะรูไม้ไผ่ยึดติดกันเป็นรูปชายธง เวลาใช้คราดผูกเส้นหนัง เช่น หนังวัว หนังควาย ที่ทำเป็นเกลียวเชือก เรียกว่าหนัง หัวคราด หรือเส้นเชือกใหญ่ผูกติดที่ปลายคันคราด เพื่อมัดบริเวณที่กึ่งกลางแอก ประวัติความเป็นมา คราด เป็นเครื่องมือใช้สำหรับการทำนาชนิดหนึ่ง โดยใช้ครูดกับดินที่ไถแล้วให้ก้อนดินแตกละเอียด ก่อนที่จะปลูกข้าวหรือหว่านเมล็ดข้าวเปลือก ทุกวันนี้ไม่ค่อยมีการใช้คราดไม้กันแล้ว เพราะได้มีการใช้เหล็กประดิษฐ์เป็นคราดเหล็กแทน และยิ่งมีรถไถนาชนิดเดินตามซึ่งใช้กันโดยทั่วไป จะมีผาลหรือจานซอยดินให้ละเอียดอยู่แล้ว การใช้คราดจึงไม่ค่อยมีความจำเป็นต่อไป ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้ตะเคียน เป็นต้น วิธีทำ ใช้ลูกคราดครูดกับดินที่ไถให้ร่วนซุย หากจะใช้คราดครูดดินให้ลึกต้องใช้แรงคนกดลงไปที่มือจับคราด หรืออาจใช้เท้าเหยียบตัวแม่คราดก็ได้ นอกจากคราดจะทำให้ดินละเอียดแล้ว คราดยังสามารถปรับพื้นดินให้สม่ำเสมอกันได้ เช่น ถ้าคราดไปถึงพื้นดินที่เป็นแอ่ง เป็นหลุมก็จะกดคราดเอาดินไปทิ้งไว้บริเวณนั้น บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต วิธีการเรียนการสอน ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นเครื่องมือใช้สำหรับการทำนาชนิดหนึ่งใช้ไถให้ดินร่วนซุย สถานที่ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดวังตะคร้อ หมู่ 2 ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดวังตะคร้อ
เลขที่ หมู่ 2
ตำบล วังตะคร้อ อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ หมู่ 2
ตำบล วังตะคร้อ อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่