ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 52' 7.6008"
16.868778
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 47' 52.5156"
99.797921
เลขที่ : 169120
เตาสุม
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2443
รายละเอียด
ชื่อ เตาสุม ประเภทและลักษณะ เตาสุม เป็นเตาที่มีแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันยังคงใช้อยู่ เป็นเตาเผาแบบกลบโดยใช้วัสดุ ไม้ กิ่งไม้ ขนาดต่างๆเป็นเชื้อเพลิง เป็นเตาที่ขนาดปานกลางไม่ใช้มาก ใช้เผาชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก เช่น หม้อ กระถาง แจกัน ของประดับบ้าน เป็นต้น ลักษณะกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยอิฐทนไฟสูงประมาณ 50 ซม. ด้านหัวทำเป็นปากใส่เชื้อเพลิง ด้านข้างจะเป็นช่องขนาดเล็กๆ 2-3 ช่อง ประวัติความเป็นมา เตาเผาในสมัยก่อนจะเป็นเตาสุมแบบเปิดโล่ง ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นเตาสุม มีกำแพงอิฐก่อล้อมรอบ และใช้ไม้ไผ่ป่าและฟางเป็นเชื้อเพลิง รวมทั้งใช้เตาลมผ่านที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาสร้างให้ บางบ้านที่มีเงินทุนหน่อยก็จะสร้างเตาแมงป่อง ซึ่งเป็นเหมือนอุโมงค์ปิดรอบด้าน ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ อิฐทนไฟ, ปูน วิธีทำ เมื่อทำการจัดเรียงชิ้นงานเข้าภายในเตาเผาแล้ว จะใช้ฝาปิดด้านบ้านแล้วกลบด้วยขี้เถ้าหรือดิน จะใช้เวลาเผาประมาณ 2 วัน ในการเผา จึงนำเครื่องปั้นดินเผาจึงออกมาได้ บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา ใช้เผาเครื่องปั้นดินเผาที่มีมาตั้งแต่โบราณ สถานที่ บ้านทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
บ้านทุ่งหลวง
ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอ คีรีมาศ จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง บ้านทุ่งหลวง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านทุ่งหลวง
ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอ คีรีมาศ จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่