ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 52' 12.648"
16.87018
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 47' 54.6216"
99.798506
เลขที่ : 169122
การทำเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
2 5030
รายละเอียด
ชื่อ เครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง ประเภทและลักษณะ เครื่องปั้นดินเผาแบบไม่เคลือบ ประวัติความเป็นมา บ้านทุ่งหลวง เป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ในเขตอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีชื่อเสียงแหล่งหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย ที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผา ชาวบ้านในหมู่บ้าน 2 และ 3 ของบ้านทุ่งหลวงแทบทุกครัวเรือน จะมีความเชี่ยวชาญในการปั้นเครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผาของบ้านทุ่งหลวงจะมีลักษณะที่เด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษที่ถ่ายทอดกันมา ส่วนใหญ่จะทำเป็นอาชีพเสริมหลังว่างจากงานเกษตรกรรม ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจะจัดอยู่ในประเภทเครื่องปั้นดินเผาไม่เคลือบ เป็นของประดับเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน อาทิ กระถาง หม้อ ดิน โอ่ง คนโท กาน้ำ และของประดับตกแต่งต่างๆ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ดินเหนียวเนื้อละเอียด วิธีทำ การทำเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวงมีการทำสองแบบ คือ 1.การขึ้นรูปชินงานแบบใช้เครื่อง เช่น โอ่ง กระถาง แจกัน เป็นต้น อย่างแรกต้องการเตรียมดิน คัดแยกสิ่งสกปรกเสาเจือปนต่างๆ ออก แล้วนำมาขึ้นรูป การขึ้นรูปจะใช้แป้นหมุนการขึ้นรูปจะทำที่ละชิ้น เช่น กระถาง โอ่งน้ำ ไห แจกัน ขาตั้ง เป็นต้น และยังมีอีกวิธีคือการหล่อจากแม่พิมพ์ที่ต้องการทำจำนวนมากๆ และมีขนาดหรือรูปเหมือนเดียวกัน และมีขนาดเล็ก เช่น ถ้วยกาแฟ ถ้วยชาม กระถางขนาดเล็ก ของใช้ของประดับ เป็นต้น เสร็จแล้วนำมาตากให้แห้ง ก่อนจะนำมาเผา ส่วนเตาเผาที่ใช้ทำการผลิตส่วนใหญ่ใช้เตากลบ (การเผาบนดิน) ซึ่งเป็นวิธีการเผาที่มีมาแต่โบร่ำโบราณ และเตาอุโมงค์ จะเผาเครื่องปั้นชิ้นใหญ่และเผาได้จำนวนมาก 2.การขึ้นรูปชินงานแบบใช้แม่พิมพ์ เช่น กระถางขนาดเล็ก ของประดับตกแต่ง เป็นต้น การทำกระถางดินเผาขนาดเล็ก จะแตกต่างจากการทำกระถางขนาดใหญ่ คือจะใช้วิธีการหล่อแบบซึ่งสามารถได้จำนวนเยอะ รวดเร็ว ยังมีความละเอียดและแบบที่เหมือนกันทุกชิ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.อย่างแรกต้องการเตรียมดิน คัดแยกสิ่งสกปรก สิ่งเจือปนต่างๆ ออก โดยการกรองหรือร่อนให้ละเอียด นำไปหมักในบ่อ เพื่อทำเป็นน้ำดิน (Slip) 2.การขึ้นรูปจะใช้แบบหล่อหรือแม่พิมพ์ (Mould) ปลาสเตอร์ (จะต้องทำจัดเตรียมแม่พิมพ์ก่อน) โดยนำน้ำดินมาหยอดลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้น้ำดินแห้ง โดยนำไปตากแดดโดยมีพลาสติกหรือสิ่งปิดไว้ 3.เมื่อชิ้นแห้งพอหมาดแล้ว แกะชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ นำชิ้นงานออกมาตรวจดูความเรียบร้อย ตกแต่ง ในขณะที่ติดยังหมาดอยู่ นำมาขูดขีด แกะลวดลาย หรือฉลุลวดลาย ตามที่ต้องการ 4. เสร็จแล้วนำมาตากให้แห้ง ก่อนจะนำมาเผา เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานแตกร้าว เสียหายได้ 5.ส่วนเตาเผาที่ใช้ทำการผลิตส่วนใหญ่ใช้เตากลบ (การเผาบนดิน) ซึ่งเป็นวิธีการเผาที่มีมาแต่โบร่ำโบราณ จะใช้ไม้ กิ่งไม้ เศษไม้ขนาดต่าง มาเป็นเชื้อเพลิงในการเผา เมื่อเผาเสร็จต้องทิ้งให้เย็นก่อนจะนำออกมา บทบาทหน้าที่และความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน - วิธีการเรียนการสอน มีการสืบทอดและสอนกันภายในครอบครัว และชุมชน ประโยชน์ของภูมิปัญญา การทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน และสร้างชื่อเสียงให้ชุมชน สถานที่ บ้านทุ่งหลวง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
บ้านทุ่งหลวง
ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอ คีรีมาศ จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอ คีรีมาศ จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่