ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 25' 45.012"
17.42917
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 48' 39.996"
99.81111
เลขที่ : 169153
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2849
รายละเอียด
ชื่อ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง และเรียกอีกชื่อว่า วัดพระปรางค์ ) อายุ สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 18 ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง เป็นโบราณสถานอยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สถานภาพของสถานที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ปัจจุบันมีฐานะเป็นอารมหลวงชั้นราชวรวิหาร ได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมศิลปากร ความสำคัญในอดีต เป็นวัดที่อยู่คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยมาอย่างยาวนานเป็นศาสนสถานที่สำคัญเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา คือก่อนหน้าที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์จะแพร่เข้ามาได้ปรากฏร่องรอยศาสนาพุทธฝ่ายมหายานโดยมรการนับถือเทพเจ้าพราหมณ์ปะปนอยู่ก่อนแล้ว ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่วัดเจ้าจันทร์และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง เป็นต้น สภาพทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ในเมืองเชลียง ตรงช่วงแหลมโค้งหักข้อศอกของแม่น้ำยมไหลขนาบทั้งซ้ายและขวา โดยหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก สภาพทางเศรษฐกิจสังคม - ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม จากการขุดค้นพบว่าเริ่มมีการก่อสร้าง ศาสนสถานในบริเวณนี้มาอย่างน้อยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 และต่อมาจนถึงสมัยอยุธยาภายในวัดประกอบด้วยอาคารหลายหลัง ที่สำคัญคือพระมหาธาตุเจดีย์ที่มีร่องรอยการบูรณปฏิสังขรณ์ซ้อนทับกันมาหลายยุคหลายสมัย และถือว่าเป็นองค์เจดีย์สำคัญของแคว้นสุโขทัย ประวัติความเป็นมา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ลักษณะรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยา บริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์สู่ซุ้มโถง ผนังภายในองค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก ด้านหน้าองค์ปรางค์มีวิหาร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย และทางด้านขวามีพระพุทธรูปปูนปั่นปางลีลาที่มีลักษณะงดงาม กำแพงวัด เป็นศิลาและแท่นกลมขนาดใหญ่เรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 60 เมตร ยาว 90 เมตร เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอด และเหนือซุ้มขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว ลักษณะพระธาตุมุเตาเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ได้พบทองจังโกประดับส่วนยอดของเจดีย์ มณฑปพระอัฏฐารศ อยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบท ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลง ภายในซุ้มคูหามีพระพุทธรูปยืนอยู่ เดิมมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา วิหารพระสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายมณฑปพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 2 องค์ อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าฐานวิหารสองพี่น้องก่อทับอาคารเดิมที่ก่อด้วยอิฐ และด้านข้างทางขวาของพระวิหารได้พบฐานรอยพระพทุธบาท โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลังโดยสร้างทับโบสถ์เดิม กุฏิพระร่วงพระลือ หรือเรียกอีกชื่อว่า ศาลพระร่วงพระลือ มีลักษณะเป็นมณฑป ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง หลังคาทรงมณฑปก่ออิฐซ้อนกัน 4 ชั้น ภายในประดิษฐานรูปหล่อพระร่วงพระลือ(จำลอง) สถานที่สำคัญ ปรางค์ประธาน พระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย พระพุทธรูปปูนปั่นปางลีลา ยอดซุ้มประตูปั้นปูนรูปพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร มณฑปพระอัฏฐารศ พระธาตุมุเตา วิหารสองพี่น้อง โบสถ์
หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ตำบล ศรีสัชนาลัย อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ตำบล ศรีสัชนาลัย อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 0 - 5567 - 9211
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่