ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
เลขที่ : 169168
ตะลุ๊ม (หลองข้าว)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1390
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ ตะลุ๊ม (หลองข้าว) ประเภทและลักษณะ หลองข้าว หรือ ตะลุ๊ม(ภาษาไทยพวน) เป็นยุ้งฉางสำหรับเก็บข้าว มีลักษณะกลมทรงกระบอกมีก้นคล้ายกับกระบุงแต่ขนาดใหญ่กว่ามาก ความสูงประมาณ 1.50 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สานด้วยไม้ไผ่ ประวัติความเป็นมา การเก็บรักษาข้าว สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่นด้วย อย่างภาคใต้จะไม่มีการนวดข้าวก่อนนำเข้าเก็บไว้ที่โรงเรือน แต่หากต้องการนำข้าวมากินหรือขายจึงนำเอาข้าวออกมานวด ซึ่งชาวนาภาคใต้จะจัดเก็บข้าวเปลือกที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในรูปของข้าว เลียง โดยจะจัดเลียงข้าวซ้อนกันอย่างมีระเบียบเป็นลอม เรียกว่า “ลอมข้าว” ไว้บนโรงเรือนที่สร้างไว้สำหรับเก็บข้าวเลียงโดยเฉพาะ เรียกว่า “เรินข้าว” ส่วนการเก็บรักษา ข้าวเปลือกของทางภาคอื่นๆ จะมีการเก็บคล้ายๆ กัน คือ จะต้องทำการนวดเสียก่อนแล้วต้องทำความสะอาดข้าวเพื่อแยกสิ่งเจือปนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หิน ดิน ทรายหรือเมล็ดข้าวที่ลีบออกจากเมล็ดข้าวเปลือก เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวนำพวกแมลงหรือหนูเข้ามาทำลายเกิดความเสียหายแก่ ข้าวเปลือกได้ หลังจากนั้นจะทำการขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งข้าว ฉางข้าว หรือ ที่ชาวนาภาคเหนือ เรียกว่า “หลองข้าว” ภาคอีสานเรียก “เล้าข้าว” ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่สาน วิธีทำ ข้าวเหล่านี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี โดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพอยู่เสมอ และไม่สูญเสียความงอก ยุ้ง ฉางที่ทำการเก็บข้าวจะต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปได้ นอกจากนี้หลังคาของยุ้งจะต้องไม่รั่ว และสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในยุ้งได้ ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางควรปัดกวาดแล้วพ่นด้วยยาป้องกันแมลงศัตรู ข้าวเสียก่อน บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นการเก็บข้าวไว้เพื่อบริโภคและแบ่งขายเมื่อข้าวมีราคาสูง และอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้เพื่อทำพันธุ์ สถานที่ ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ บ้านเลขที่
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ บ้านเลขที่ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่