ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
เลขที่ : 169188
เครื่องหีบอ้อย (บ้านหาดเสี้ยว)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1408
รายละเอียด
ชื่อ เครื่องหีบอ้อย (บ้านหาเสี้ยว) ประเภทและลักษณะ เครื่องหีบอ้อยประกอบด้วยลูกหีบที่ทำไม้ ซึ่งมีสองชนิดคือ ชนิดดูเกลียว และชนิดดูเดือย หรือพูทอย ลูกหีบชนิดพูเกลียว ทำด้วยท่อนไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ ๓ ท่อน สูงประมาณ ๑ เมตร สลักเป็นเกลียวคล้ายเกลียวสว่าน แต่ละท่อนจะสลับเกลียวกัน กันพอดีกับลูกหีบ - เครื่องหีบอ้อยแบบ ๓ พู ทั้งสามลูก จะมีแกนฝังลงไปบนแผ่นไม้ที่ประกับหัวท้ายอย่างหลวม ๆ เพื่อ ลูกหีบหมุนได้คล่อง ลูกกลางจะมีแกนด้านบนโผล่พ้นแผ่นไม้ประกับขึ้นไป มีรูที่เจาะไว้สำหรับสอดไม้คันชั่งซึ่งเป็นไม้ยาวๆ สำหรับคล้องแอกวัวหรือควาย ที่จะใช้หมุนเครื่องหีบอ้อย ที่ฐานจะมีรางไม้สำหรับรับน้ำอ้อยที่ไหลลงมาจากการบีบของเฟืองไปยังภาชนะที่ รับน้ำอ้อย ลูกหีบชนิดพูเดือยหรือพูทอย ก็ไปยังภาชนะที่รับน้ำอ้อย ลูกหีบชนิดพูเดือยหรือพูทอยก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันต่างกันที่ลักษณะของพูที่ เป็นเฟืองที่ทำเป็นเดือยฝังลงไปในท่อนไม้ให้ทอยที่มีลักษณะคล้ายเฟืองนี้ สลับกัน เมื่อหมุนตัวใดตัวหนึ่งจะขบกันพอดี ลูกหีบลักษณะนี้บางที่แกะไม้เป็นปุ่มเป็นพูยื่นออกมาสลับกันคล้ายเฟืองเช่น เดียวกัน แต่เดือยหรือพูที่ยื่นออกมานี้เป็นไม้ท่อนเดียวกับลูกหีบไม่ได้ใช้ไม้อื่น ทอยหรือฝังเข้าไป ประวัติความเป็นมา เครื่องหีบอ้อย เป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านโบราณของไทยที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำขึ้นเพื่อใช้บีบเอาน้ำอ้อยออกจากต้นอ้อยที่เป็นระบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยใช้แรงวัวหรือแรงควาย เครื่องหีบอ้อยโบราณนี้ ปัจจุบันไม่มีใช้แล้ว แต่ยังพบชิ้นส่วน โดยเฉพาะลูกหีบอยู่บ้างในเขตจังหวัดภาคกกลางตอนบน เช่น จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง วิธีทำ ลักษณะลูกหีบของเครื่องหีบอ้อยแบบโบราณนี้ จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอยู่ที่การใช้แรงขบที่เกิดจากเฟืองหรือเดือยหมุน ลูกหีบบีบให้น้ำอ้อยไหลออกมาจากลำอ้อย การหีบอ้อยด้วยเครื่องหีบอ้อยโบราณนี้ จะต้องปอกเปลือกอ้อยออกก่อน แล้วใส่ลำอ้อยเข้าไประหว่างลูกหีบ ลูกหีบจะบีบน้ำอ้อยออกจากลำอ้อยไหลลงเครื่องรองแล้ว นำไปทำเป็นอ้อยงบหรือน้ำตาลต่อไป พลังงานที่ใช้ในการหมุนเครื่องหีบอ้อยอาจเป็นวัวหรือควาย ก็ได้ โดยใช้ผูกแอกเข้ากับไม้คันชั่งแล้วให้วัวหรือควายเดินเวียนไปรอบ ๆ เครื่องหีบอ้อย บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต ใช้ในการหีบน้ำอ้อยเพื่อนำไปใช้ทำน้ำตาล วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เครื่องหีบอ้อยจะแสดงให้เห็นความคิดในการใช้เทคโนโลยีพื้นฐานแล้ว ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะการออกแบบและวิทยาการด้านวิทยา ศาสตร์ประยุกต์เข้าด้วยกัน โดยใช้วัสดุที่หาได้และมีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ สามารถสนองประโยชน์ใช้สอยได้เป็นอย่างดี สถานที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ โทร. 0 5567 1143, 0
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่