ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
เลขที่ : 169190
ซ้อมตบ (กรบ)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1091
รายละเอียด
ชื่อ ซ้อมตบ (กรบ) ประเภทและลักษณะ เครื่องมือหาปลา กรบเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้แทงปลาขนาดตัวใหญ่ มีลักษณะคล้ายฉมวก ประวัติความเป็นมา ซ้อมตบ (ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวใช้เรียก) หรือ กรบ , กบ , ตบ กรบจะมีปลายเป็นเหล็กแหลมขนาดใหญ่กว่าฉมวก แต่มือถือเป็นด้ามไม้เนื้อแข็ง จะสั้นกว่าด้ามฉมวกที่ทำด้วยไม้ไผ่ เหล็กปลายแหลมที่เป็นส่วนแทงปลาอาจมี 3 แฉก และ 7 แฉกก็ได้ การประดิษฐ์ด้ามกรบใช้สำหรับจับเวลาแทงปลาใช้ไม้เนื้อแข็ง ส่วนปลายด้ามถือทำให้โค้งงอ เพื่อให้จับได้กระชับแน่น เมื่อแทงปลาติดแล้วหากปลาดิ้นก็ใช้แรงน้ำหนักจากตัวคนกดลงไปที่ตัวปลาได้โดย ไม่เจ็บมือ ปลายด้ามกรบบริเวณมือจับ บางทีก็มีการแกะสลักลวดลายเป็นรูปหัวสัตว์ต่าง ๆ เช่น ลิง นก งู เป็นต้น ถัดจากมือจับซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งจะใช้ไม้ไผ่รวกลำเล็ก ๆ ข้อสั้น ๆ แข็งแรงทนทาน จำนวนลำไม้ไผ่จะเท่ากับจำนวนแฉกของกรบ เช่น ถ้ากรบมี 3 แฉก ก็ต้องใช้ไม้ไผ่ยาวขนาด 50 – 60 เซนติเมตร 3 ท่อน ใช้หวายหรือลวดถักยึดให้แยกออกจากกันเป็นแฉก ๆ ปลายไม้รวกผูกยึดกับด้ามไม้เนื้อแข็ง เหล็กสวมทับกับไม้รวกนั้น ใช้วิธีการเผาเหล็กให้แดงใส่ครั่งไว้ในรูไม้ไผ่ กดเหล็กเข้าไปในรู เมื่อครั่งละลายและเย็นลงแล้วจะยึดเหล็กสวมได้แน่น จากนั้น ใช้วงแหวนเหล็กกว้าง 3 เซนติเมตร สวมทับรัดให้แน่นหนาอีกครั้งหนึ่ง ปลายกรบที่เป็นเหล็กสำหรับไว้แทงปลาจะแหลมคมมาก ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ เหล็ก และไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็ง วิธีทำ ผู้ที่ออกไปหาแทงปลาจะจับที่มือถือ มักใช้กรบแทงปลาในบริเวณน้ำไหลลึกไม่เกินหัวเข่า วิธีการแทงปลาอาจปักกิ่งไม้วางห่าง ๆ บริเวณน้ำไหล หากปลาว่ายผ่านมาจะทำให้กิ่งไม้ที่ปักไว้ไหว ๆ เป็นสัญญาณให้รู้ว่าปลาว่ายผ่านมาแล้วจะได้แทงปลาได้ถูก หรืออาจใช้แทงปลาที่หลบอาศัยใต้ต้นวัชพืชในฤดูร้อน กรบมักใช้การแทงปลาที่ตัวใหญ่ ๆ เช่น ปลาค้าว ปลาสวาย ปลากะโห้ ปลาเทโพ เป็นต้น หากจำพวกปลาดุก ปลาช่อน ค่อนข้างตัวเล็กกว่า มักจะใช้ฉมวกแทง บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต เป็นเครื่องมือจับปลาของชาวบ้านสมัยก่อน วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา ใช้สำหรับแทงปลาขนาดใหญ่ สถานที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ โทร. 0 5567 1143, 0
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่