ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 9.8508"
17.519403
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 49.7484"
99.763819
เลขที่ : 169194
ทุงชัย (ตุงไจ)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1404
รายละเอียด
ชื่อ ทุงชัย (ตุงไจ) ประเภทและลักษณะ ทุง หรือ ตุง หมายถึง เครื่องใช้ในการประดับ และเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรมชนิดหนึ่ง มีลักษณะตรงกับภาษาบาลีว่า “ ปฎากะ ” หรือธงปฏาก ที่ทางภาคกลางเรียกว่า “ ธงตะขาบ ” คือเป็นธงที่ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม มีความยาวอย่างตัวตะขาบ เวลาแขวนประดับนั้น ให้แขวนที่หัวธงแล้ว ปล่อยชายยาวลงมาเบื้องล่าง ทุงอาจแยกได้หลายชนิด ทั้งการแยกตามวัสดุ แยกตามขนาดและแยกตามหน้าที่ในการใช้งาน ตุงในภาษาไทใหญ่เรียก “ ตำข่อน ” ภาษาพม่าเรียก “ ตะขุ่น ” ทุงชัย ( อ่าน “ ตุงไจ ”) เป็นประเภทใช้งานใช้ประดับ คือ ทุงที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ซึ่งมี พอย ( อ่าน “ ปอย ”) คืองานสมโภชฉลองถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความสวยงาม และยังใช้เป็นเครื่องหมายนำทางไปสู่บริเวณงานด้วย ทุง ที่ใช้ตกแต่งสถานที่ เช่น ทุงชัย ทุงกระด้าง ทุงบอก ทุงพระบด ทุงช้าง เป็นต้น ประวัติความเป็นมา ทุงมีบทบาท และความเป็นมาที่ยาวนาน ดังที่พบในศิลาจารึกวัดพระยืน ซึ่งพบที่วัดพระยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ทุงมีความตอนหนึ่งว่า “… วันนั้นตนท่านพระญาธรรมิกราชบริพารด้วยฝูงราชโยธามหาชน ลูกเจ้า ลูกขุน มนตรีทังหลายยายกัน ให้ถือ ช่อทง เข้าตอกดอกไม้ไต้เทียนตีพาดดังพิญค้องกลอง ปี่ สรไนพิสเนญชัยทะเทียด กาหล แตรสังข์มานกังสดาล ” ซึ่งหมายความว่า ในปี พ . ศ . ๑๙๑๓ นั้น “ เจ้าท้าวสองแสนนา ” หรือพระญาเจ้ากือนาแห่งเมืองเชียงใหม่ และข้าราชบริพารไปต้อนรับพระสุมนเถระ ซึ่งมาจากสุโขทัย ในกลุ่มผู้ที่ไปรอต้อนรับพระสุมนเถระนั้น ก็ได้ยืนเรียงรายกันถือเครื่องสักการะต่าง ๆ เช่น ถือ ช่อ คือธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก และถือ ทง คือธง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ทุง อยู่ด้วย และในขบวน ต้อนรับนั้น ยังมีการบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ อีกด้วย ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง ความเชื่อและอานิสงส์การทานทุง ผลดีในการทาน ทุง หรืออานิสงส์ในการถวาย ธงปฏาก นี้ ปรากฏในคัมภีร์ใบลานชื่อ สังขยาโลก จารด้วยตัวอักษรธรรมล้านนา มีภิกษุรูปหนึ่งได้ไปเห็นไม้ตายแห้งท่อนหนึ่ง มีลักษณะยาวงามดีมาก ท่านก็นึกที่จะเอาต้นไม้ไปทำเป็นเสา ทุง บูชา ไว้ ในวัดที่ท่านจำพรรษาอยู่ แต่บังเอิญท่านมีอันเป็นลมปัจจุบันถึงแก่กรรมลงในทันที ก่อนที่วิญญาณของท่านจะออกจากร่าง ท่านมีจิตประหวัดถึงไม้ท่อนนั้น จึงทำให้ต้องไปปฏิสนธิเป็นตุ๊กแกอาศัยอยู่ ที่ไม้ต้นนั้น ได้รับทุกขเวทนาเป็นเวลานาน ท่านจึงดลใจให้ชาวบ้านทราบว่า เวลานี้ท่านได้มาเกิดเป็นตุ๊กแกอาศัยอยู่ที่ไม้ต้นนั้น หากพวกชาวบ้านมีศรัทธาอยากจะให้ท่านพ้นจากกองทุกข์ ก็ขอให้สร้าง ทุงเหล็กทุงทอง ถวายทานไว้ในพระศาสนา จึงจะช่วยบันดาลให้ท่านหลุดพ้นจากกองทุกข์นี้ได้ เมื่อชาวบ้านทราบเช่นนั้น ก็สร้าง ทุงเหล็กทุงทอง ถวายไว้ในพระศาสนา พระภิกษุรูปนั้นจึงพ้นจากกองทุกข์ไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง … อีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏศักราช มีความดังนี้ สิงห์คุตต์อำมาตย์เอาทุงไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่และพระเจดีย์คีรีครั้นสิ้น อายุจะไปตกนรก พระยายมราชก็แสดง ทุง นั้นให้เห็นแล้วกล่าวว่า “ เมื่อท่านทำบุญวันนั้น ท่านยังกรวดน้ำแผ่กุศลถึงเราและบัดนี้ท่านจงขึ้นไปบนสวรรค์เทอญ ” และอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ยังมีนายพรานผู้หนึ่งล่าเนื้อมาตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปี จนถึงอายุได้ ๔๘ ปี วันหนึ่งเข้าป่าไปเพื่อจะล่าเนื้อ บังเอิญไปถึงวัดศรีโคมคำ ( จังหวัดพะเยา ) ได้เห็นพระปฏิมากรองค์ใหญ่และมีการประดับ ทุง เป็นพุทธบูชาเมื่อยามลมพัดต้อง เกิดความสวยงามก็พึงพอใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อกลับถึงบ้านก็จัดแจงหาผ้ามาทำ ทุง แล้วเอาไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่นั้น ครั้นนายพรานผู้นี้ตายไป พระยายมราชมิทันได้พิจารณาก็เอาโยนลงนรก ในทันใดนั้น ทุง ที่ นายพรานเคยทำเพื่อถวายพระประธานองค์ใหญ่นั้นก็พันเอาตัวนายพรานพ้นจากนรก เสีย พระยายมราชจึงพิจารณาดูแล้วก็บอกให้นายพรานขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ วัสดุที่ใช้ ผ้าหรือฝ้าย วิธีทำ ทุงชัย ทุงประเภทนี้อาจจะเรียกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติของสิ่งที่ใช้ประดิษฐ์ เช่น ถ้าทำจากผ้าก็จะเรียกว่า ทุงผ้า โดย ใช้ผ้าแถบกว้างประมาณ ๘ – ๑๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๓ - ๔ เมตร แบ่งลำตัวออกเป็นประมาณ ๑๕ ท่อน ยาวท่อนละ ๑๒ นิ้ว มีไม้ไผ่อันเล็ก ๆ พาดขวางลำตัวเพื่อไม่ให้พันตัวเอง จะทำด้วยกระดาษที่ค่อนข้างแข็งก็ได้ ถ้าเป็นผ้า ใช้ได้ทั้งผ้าทึบหรือผ้าโปร่ง ถ้าเป็นผ้าทอทั้งผืน อาจจะทอแบบ ทุง ทึบมีลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายเจดีย์ ลายปราสาท เป็นต้น หรืออาจจะทอเป็น ทุงใย คือทอเฉพาะที่ข้อ กว้างประมาณ ๑ นิ้ว เท่านั้นนอกนั้นปล่อยให้ยาวเห็นแต่ฝ้ายเส้นยืน ส่วนทุงผ้า ของชาวไทลื้อนั้น นิยมทอด้วยเทคนิคการขิดหรือจก ซึ่งมีลวดลายสวยงาม โครงสร้างอย่างหนึ่งที่สำคัญคือส่วนล่างสุดนิยมทอเป็นรูปปราสาท มีรูปต้นไม้ ดอกไม้ นก คน ช้าง ม้า ฯลฯ ล้อมอยู่และรูปสิ่งของเครื่องของบางอย่าง เช่น น้ำต้น ( คนโท ) ขันดอก ( พานดอกไม้ ) เป็นต้น แต่ละช่วงของลวดลายจะคั่นด้วยการสอดไม้ไผ่เป็นปล้อง ๆ ลวดลายในช่วงบนนั้นอาจเป็นรูปเรอ ช้าง ม้า หงส์ นก นาค ดอกไม้ ต้นไม้ ฯลฯ ทุงผ้าส่วนใหญ่จะใช้ผ้าฝ้ายสีขาวลวดลายขิดสีดำและแดงเป็นเส้นพุ่น แต่บางผืนก็อาจใช้สีแดงและมีเส้นพุ่นหลากสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ เป็นต้น และในปัจจุบัน ยังพบว่ามีผู้ทอผ้า ทุง เป็นสีธงชาติด้วย นอกจากทุงผ้า และ ทุงใย แล้ว อาจใช้กรรมวิธีการผลิตอย่างง่าย ๆ คือใช้ผ้าสีแดงหรือขวาตัดให้มีขนาดยาวตามรูปแบบของ ทุง แล้วใช้กระดาษทองตัดหรือฉลุเป็นลวดลายทากาวติดลงบนผ้าให้เกิดลวดลายแล้ว ตกแต่งด้วยพู่ห้อยต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง ส่วนหางและส่วนหัวของไม้ที่สอดขวางลำตัวของ ทุงชัย และ ทุงใย นี้จะตกแต่งด้วยวัสดุเป็นรูปดอกไม้หรือพู่ห้อยหรือแต่งเป็นอุบะเพื่อให้เกิด ความสวยงามอีกด้วย ส่วนหัวของ ทุง ที่แขวงกับเสาไม้ไผ่ก็นิยมทำเป็นโครงรูปปราสาทหรือทำเป็นรูปวงกรม บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เครื่องใช้ในการประดับ และเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรม สถานที่ วัดหาดเสี้ยว เลขที่ 51/2 หมู่ที่ 2 ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130
สถานที่ตั้ง
วัดหาดเสี้ยว
เลขที่ เลขที่ 51/
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดหาดเสี้ยว
เลขที่ เลขที่ 51/ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่