ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
Longitude : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
No. : 169203
อีจู้
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Sukhothai
0 1612
Description
ชื่อ อีจู้ ประเภทและลักษณะ เป็นเครื่องมือประมง อีจู้ มีลักษณะกลมป่องส่วนก้น แล้วเรียวที่ส่วนบน คล้ายคนโทใส่น้ำบ่างชนิด หรือคล้ายรูปหม้อคอสูง ขนาดของอีจู้โดยทั่วไปวัดตามเส้นผ่าศูนย์กลาง ส่วนก้นมีความยาวตั้งแต่ ๒๐ - ๔๐ เซนติเมตร เมื่อวางตั้งมีความสูงตั้งแต่ ๕๐ เซนติเมตร จน สูง ๑ เมตร การสานอีจู้ใช้ตอกไม้ไผ่เหลาบาง ๆ เริ่มสานที่ก้นเป็นลายขัดสี่เหลี่ยมเป็นตาห่าง ๆ แต่ต้องไม่ให้ปลาไหลลอดออกไปได้ แล้วสานในแนวตั้งขึ้นมาเป็นลายขัดทึบ สานปลายปากอีจู้เรียวแคบลงทีละน้อย ๆ ส่วนริมปลายปากจะบานออกเล็กน้อย เพื่อวางที่ปิดส่วนใหญ่ใช้กะลามะพร้าว หรือเศษฟางเศษหญ้าจุกปากให้แน่น ริมก้นอีจู้ด้านหนึ่งใดจะสานเป็นช่องวงกลมไว้ เพื่อใส่งาแซมให้ปลาไหลเข้า โดยทั่วไปแล้วอีจู้แต่ละอันจะมีงาแซงอยู่ ๑ ช่องเท่านั้น ภายในสานไส้อีจู้จะทำด้วยไม้ไผ่ลายขัดห้างๆทำเป็นกรวยใส่เหยื่อล่อปลาไหล บางทีเรียกว่า “ กะพล้อ ” หรือรอง สามารถดึงเข้าดึงออกได้ เหยื่อที่ใส่ให้ปลาไหลเข้าไปกิน มักใช้เนื้อหอยโข่งนา ปูตายทุบให้แหลกหรือเนื้อปลาสับ ประวัติความเป็นมา เป็นเครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีงาแซงอยู่ริมก้นใส่เหยื่อไว้ในกะพล้อ บางแห่งเรียกว่าอีจู้ว่า กระจู้ หรือจู้ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่ วิธีทำ การดักปลาไหลจะดักในน้ำนิ่งตามริมหนอง คลอง บึง หรือตามแปลงนา ความลึกของน้ำไม่มากนัก ต้องให้ส่วนปลายปากอีจู้โผล่พ้นน้ำเพราะปาลไหลจะได้ขึ้นมาไม่ได้ ใช้ใบหญ้าคลุมอีจู้แต่งช่องทางให้ปลาไหลเข้าไปทางงาแซงได้สะดวก ช่องงาแซงอยู่ในระดับพื้นดินใต้น้ำพอดี ปลาไหลซึ่งชองอาศัยอยู่ในโคลนเลน เมื่อได้กลิ่นเหยื่อจะหาทางเข้าไปกิน จนกระทั่งเข้าช่องงาแซงนั้น แต่ก็ไม่สามารถกินเหยื่อได้เพราะใส่ไว้ในกะพล้ออีชั้นหนึ่ง ทำให้เหยื่อไม่หมด ปลาไหลตัวอื่น ๆ จะเข้าไปอีก การกู้อีจู้อาจกู้วันละครั้ง หรือดักไว้หลาย ๆ วันก่อนจึงมากู้ก็ได้ บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต เป็นเครื่องมือดักปลาของชาวบ้านสมัยก่อน วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา การดักปลาไหลจะดักในน้ำนิ่ง สถานที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Location
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
No. เลขที่ 477
Tambon หาดเสี้ยว Amphoe Si Satchanalai Province Sukhothai
Details of access
Reference พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
No. เลขที่ 477 Moo บ้านหาดเสี้ยว
Tambon หาดเสี้ยว Amphoe Si Satchanalai Province Sukhothai
Tel. โทร. 0 5567 1143, 0
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่