ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
เลขที่ : 169204
อี่โต้ง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1486
รายละเอียด
ชื่อ อี่โต้ง ประเภทและลักษณะ อี่โต้ง ลักษณะคล้าย ไซดักกบ ใช้ไม้ไผ่สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมเล็ก รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร อี่โต้ง มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ อี่โต้งตัวผู้ จะมีลักษณะก้นด้านบนจะเป็นคอยื่นออกมา เป็นเหมือนคอขวด อีกชนิด คือ อี่โต้งตัวเมีย จะเหมือนกับตัวผู้จะต่างตรงไม่มีคอยื่นออกมา ประวัติความเป็นมา อี่โต้ง (เป็นคำเรียกของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว) เป็นเครื่องมือในการจับกบตามท้องนาชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันมากโดยใช้หลักการล่อด้วยเหยื่อ ให้กบหลงกล และตกเข้าไปในตัวไซโดยผ่านทางช่องงา หรืปาก ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่ วิธีทำ ใช้วางดักบริเวณน้ำไหลริน ๆ หรือน้ำนิ่ง ใช้หลักล่อให้กบเข้าไปในไซโดยผ่านงา ใช้เหยื่อ เช่น ลูกปลา หรือลูกปูใส่ล่อไว้ กบจะเข้าไปกินเหยื่อล่อทางช่องงา และไม่สามารถออกมาได้ บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต เป็นเครื่องมือสำหรับหาอาหารของชาวบ้านในสมัยก่อน วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา ใช้ดักล่อให้กบเข้าไปในไซโดยผ่านงา สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ โทร. 0 5567 1143, 0
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่