ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 14' 15"
17.2375
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 40' 27.012"
99.67417
เลขที่ : 169220
เมืองบางขลัง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1847
รายละเอียด
ชื่อ เมืองบางขลัง อายุ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย สถานภาพของสถานที่ เมืองบางขลัง มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ร่องรอยสิ่งก่อสร้างกำแพงในเมืองในแนวเหนือ-ใต้ ยาวประมาณ 700 เมตร ส่วนกำแพงด้านตะวันออก-ตะวันตก ยาว 1,600 เมตร ปัจจุบันเหลือเพียงกำแพงเมืองด้านทิศตัวนออก ส่วนกำแพงด้านทิศใต้ไม่ปรากฏขอบเขตชัดเจน จากการสำรวจเมืองบางขลังพบโบราณสถานภายในและภายนอกเมืองจำนวน 22 แห่ง โบราณสถานส่วนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่และสำคัญล้วนตั้งอยู่ภายนอกเมือง อาทิ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดโบสถ์ ฯลฯ ขณะที่ในเมืองมีโบราณเพียง 4 แห่ง นอกจากนี้ ยังพบโบราณสถานบนภูเขาคือ โบราณสถานเขาเดื่อ และแหล่งตัดศิลาแลงบริเวณเชิงเขาเดื่อซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างโบราณสถานส่วนใหญ่ของเมืองบางขลัง ความสำคัญในอดีต เมืองโบราณแห่งนี้อาจมีอายุร่วมสมัยกับเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย สภาพทางภูมิศาสตร์ ใกล้กับเมืองโบราณนี้มีลำน้ำสายสำคัญไหลผ่าน 2 สาย ได้แก่ ลำน้ำฝากระดานหรือลำน้ำแม่มอกไหลผ่านทางทิศตะวันออก ห่างจากกำแพงด้านตะวันออกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ส่วนคลองยาง (คลองมักกะสัง) ไหลผ่านตัวเมืองขนานกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตก สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม - ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม กรมศิลปากรที่ดำเนินการขุดสำรวจทางโบราณคดีที่เมืองบางขลังในระหว่าง พ.ศ. 2540-2544 ทำให้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีความเชื่อของผู้คนในอดีต ซึ่งน้อมนำให้เกิดศรัทธาต่อการก่อสร้างโบราณเนื่องในพุทธศาสนาจำนวนมาก ทั้งในเมืองและนอกเมือง ซึ่งพบว่ามีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-20 โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดโบสถ์ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดริมทาง วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดเจดีย์โทน วัดป่ามะม่วง วัดป่ากล้วย วัดต้นมะเกลือ วัดเจดีย์คู่ วัดดงอ้อยเหนือ วัดป่าสักเหนือ วัดก้อนแลง วัดไร่ถั่ว วัดมุมเมือง วัดสระคู่ วัดดงสะเดา วัดป่าสักใต้ วัดต้นประดู่ วัดริมคลองยาง วัดเขาเดื่อ โบราณสถานดังกล่าว วัดโบสถ์ และวัดใหญ่ชัยมงคล นับเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ที่มีองค์ประกอบของโบราณสถานค่อนข้างสมบูรณ์ โดยประกอบด้วย วิหาร มณฑป เจดีย์ ฯลฯ ทั้งยังพบการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานทั้งสองแห่งนี้เพื่อใช้งานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22 นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานการใช้เครื่องถ้วยชามเนื้อแกร่งที่ผลิตจากเตาเมืองศรีสัชนาลัย ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 พิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับการปลงศพในอดีตด้วยการบรรจุอัฐิซึ่งผ่านการเผาแล้วในภาชนะดินเผาฝังในบริเวณโบราณสถานภาชนะดินเผาส่วนใหญ่ที่บรรจุอัฐิเหล่านี้ส่วนใหญ่ผลิตจากแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยเมืองศรีสัชนาลัย ภายในภาชนะยังบรรจุเครื่องอุทิศ อาทิ คันฉ่องสำริด เต้าปูนสำริด แหนบสำริด ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผา เช่น วัดโบสถ์ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดไร่ถั่ว วัดสระคู่ โบราณสถานบางแห่งยังพบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง เช่น วัดดงอ้อยเหนือ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ประวัติความเป็นมา เมืองบางขลัง ปรากฏกล่าวถึงในสิลาจารึก หลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ว่า “เมืองบางขลง” ศิลาจารึก หลัดที่ 3 (ศิลาจารึกนครชุม) ระบุชื่อ “เมืองบางฉลัง” หลักฐานดังกล่าวทำให้สามารถสันนิษฐาน ได้ว่าเมืองโบราณแห่งนี้อาจมีอายุร่วมสมัยกับเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทั้งยังคงความสำคัญต่อเนื่องถึงรัชสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ต่อมาในสมัยอยุธยา การผนวกรัฐสุโขทัยเป็นดินแดนในปกครอง ส่งผลต่อเมืองบางขลัง ให้เป็นเพียงชุมชนหนึ่งของหัวเมืองภาคเหนือ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เมืองแห่งนี้ไม่ปรากฏในหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ชื่อเมืองบางขลัง กลับมาปรากฏอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสวรรคโลกในปกครองสยาม ในจดหมายเหตุรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อเนื่องถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึง ยศ และราชทินนามชนชั้นปกครองเมืองบางขลังซึ่งมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นอกจากนี้ ใน พ.ศ.2450 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จพระราชดำเนินเมืองสุโขทัยและเมืองใกล้เคียง ในครั้งนั้นทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง บทพระราชนิพนธ์ดังกล่าวระบุถึง เมืองบางขลัง และโบราณสถานหลายแห่งของเมือง เช่น วัดโบสถ์ วัดใหญ่(วัดใหญ่ชัยมงคล) เป็นต้น
หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
ตำบล เมืองบางขลัง อำเภอ สวรรคโลก จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ศูนย์ข้อมูลวัดโบสถ์เมืองบางขลัง
ตำบล เมืองบางขลัง อำเภอ สวรรคโลก จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่