ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 19' 18"
17.3216666666667
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 33' 5"
99.5513888888889
เลขที่ : 169245
หอคำน้อยมหารัชมงคลพิพัฒน์
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1589
รายละเอียด
ชื่อสถานที่ หอคำน้อยมหารัชมงคลพิพัฒน์ สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ภายในวัดพิพัฒน์มงคล เลขที่ ๔๖๔ หมู่ที่ ๙ บ้านท่าชุม ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ประวัติความเป็นมา ตำนานที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่หลวงพ่อพิพัฒน์มงคลจาริกธุดงค์ผ่านมาปักกลดเริ่มสร้างวัดโดยยกฐานะจากวัดร้างกลางทุ่งนาพัฒนาเรื่อยมาจนสำเร็จถึงปัจจุบันตามนิมิตที่เทพารักษ์ได้อาราธนาไว้ สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้างและเมืองร้างมาก่อน เมื่อประมาณ พ.ศ. 1672 หรือเมื่อ 881 ปีที่ผ่านมา เป็นเมืองในฐานะเมืองราษฏร์หัวเมืองล้านนาระหว่างกรุงสุโขทัยและนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นอาณาจักรเก่าแก่นาม "เมืองเวียงมอก" มีเจ้าเมืองปกครอง 2 องค์ คือ พ่อขุนงามเมือง พ่อขุนเรืองอังวะ (อำนาจ)เป็นเมืองขนาดเล็ก มีอาณาเขตไม่กว้างนัก มีหนองน้ำ คูเมือง และกำแพงเมือง ดดยปรากฏกำแพงเมืองโบราณอยู่ห่างจากวัดนี้ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร ปัจจุบันเรียกว่า "บ้านหอรบ" ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ในส่วนของอาคารหอคำน้อยนี้ ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณ เจ้าคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการเถรสมาคม เจ้าคณะหนเหนือ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครได้อุปถัมภ์ในการก่อสร้างเป็นเงินจำนวน 2 ล้านบาท และหลวงพ่อพระครูวรคุณประยุตได้นำปัจจัยที่ญาติโยมถวายประมาณ 10 ล้ายบาทสร้างไว้ สร้างด้วยไม้สักทองและไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นศิลปะทรงไทยตรีมุข รวมงบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 12 ล้านบาท ความสำคัญ หอคำน้อยมหารัชมงคลพิพัฒน์ หรือพิพิธภัณฑ์หลังนี้ เป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุ พระเครื่อง พระบูชา และวัตถุมงคลต่างๆ มากกว่า 1,000 ชิ้น ซึ่งขุดพบได้ในบริเวณสร้างวัดพิพัฒน์มงคลแห่งนี้ วัตถุมงคลในวัดนี้ ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปบูชาเนื้อทองคำ พระพุทธรูปบูชาเนื้อเงิน เนื้อนาก และสำริด มีขนาด 2 เมตร 1 เมตร 20 นิ้ว และ 9 นิ้ว และพระเครื่องอื่นๆ อีกจำนวนมาก มีทั้งเนื้อดิน เนื้อทอง เนื้อสำริด พร้อมเครื่องใช้ไม้สอยในสมัยโบราณต่างๆ อีกมากมาย โบราณวัตถุอีกส่วนหนึ่งได้รับมอบถวายจากผุ้มีจิตศรัทธา เพื่อนำมาเก็บรักษาไว้ให้อนุชนได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และได้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยชั้นล่างเป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี ของคณะสงฆ์อำเภอทุ่งเสลี่ยม โดยมีพระภิกษุสามเณรเข้าศึกษาตั้งแต่นักธรรมตรีถึงนักธรรมชั้นเอก ชั้นประโยค 1-2 ถึงประโยคป.ธ.9
หมวดหมู่
พิพิธภัณฑ์
สถานที่ตั้ง
วัดพิพัฒน์มงคล
เลขที่ เลขที่ ๔๖๔
ตำบล ทุ่งเสลี่ยม อำเภอ ทุ่งเสลี่ยม จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดพิพัฒน์มงคล
เลขที่ เลขที่ ๔๖๔ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านท่าชุม
ตำบล ทุ่งเสลี่ยม อำเภอ ทุ่งเสลี่ยม จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่