ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 49' 9"
14.8191666666667
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 38' 6"
100.635
เลขที่ : 169440
วัดซาก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : ลพบุรี
0 1924
รายละเอียด
วัดซาก (Wat Sark; The Temple of Ruin) อายุ ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง หมู่ 1 ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี วัดซาก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากตัวเมืองลพบุรีราว 4 กิโลเมตร สถานภาพของสถานที่ ซากโบราณสถาน ความสำคัญในอดีต สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพทางเศรษฐกิจสังคม ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม ได้มีการค้นพบหลักฐานโบราณวัตถุสมัยลพบุรี เป็นจำนวนหลายแห่ง เช่น ประติมากรรมหินทรายรูปเศียรอสูร จากวัดซาก จังหวัดลพบุรี ประวัติความเป็นมา วัดซาก ไม่ปรากฏประวัติการสร้าง มีเพียงเนินดินและซากฐานเจดีย์ใหญ่ จากการขุดตรวจพบว่ามีการสร้างทับซ้อนเป็นลำดับคือ ฐานล่างเป็นศิลาแลง ชั้นบนก่ออิฐ ชาวบ้านได้สร้างวัดขึ้นใหม่บนซากเนินโบราณสถาน และตั้งชื่อว่า “วัดซาก” นอกจากซากโบราณสถานแล้วยังได้พบชิ้นส่วนของประติมากรรมขนาดใหญ่หลายชิ้นที่วัดนี้ เป็นเศียรยักษ์ศิลา ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ได้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479 วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง นายตรี อมาตยกุล ได้เขียนไว้ในหนังสือจังหวัดลพบุรีว่า "…วัดนี้เห็นจะสร้างมาแต่ครั้งเขมรรุ่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เพราะได้เคยพบเศียรยักษ์ขนาดใหญ่ สมัยลพบุรีที่วัดนี้มีหลายเศียร ซึ่งได้นำมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่กรุงเทพฯ ก็มี เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลพบุรีก็มี ที่วัดนี้ มีเรื่องเกี่ยวเนื่องในพงศาวดารอย่างหนึ่งคือ เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ใกล้จะสวรรคต พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ คบคิดกัน เป็นขบถจะแย่งชิงราชสมบัติจึงได้จับเจ้าฟ้าอภัยทศกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ มาประหารชีวิตที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ.2231…"
สถานที่ตั้ง
เลขที่ หมู่1
ตำบล ถนนใหญ่ อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ หมู่1
ตำบล ถนนใหญ่ อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่