ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 2' 56.0886"
15.0489135
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 4.9332"
100.568037
เลขที่ : 169507
กลองเพล
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : ลพบุรี
0 1557
รายละเอียด
กลองเพล จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ชีวิตพระสุเมธาธิบดีมูลนิธิประชาสุขสันติ์ ที่ตั้งเลขที่ 84 หมู่ 4 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โทร. 0 3647 1847 กลองเพลมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีใช้ภายในวัดทั่วทุกภาคในประเทศไทย กลองเพลทางภาคกลางจะมีลักษณะอ้วนสั้น ส่วนกลองเพลทางภาคอีสานจะมีลักษณะยาว ในสมัยก่อนตัวกลองจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งท่อนเดียวเช่นไม้ประดู่ขุดให้กลวง ใช้หนังสัตว์ส่วนใหญ่นิยมใช้หนังควายขึงปิดทั้งสองหน้าของกลอง ยึดโยงด้วยเส้นหนังและหวาย ส่วนปัจจุบันไม้ขนาดใหญ่เริ่มหายากขึ้นทุกวัน จึงเปลี่ยนมาใช้ไม้แผ่นประกอบและพัฒนาวัสดุยึดด้วยลวดสลิงแทน เวลาตีกลองใช้ไม้หรือมือตีเพื่อให้เกิดเสียงดัง วัดบางแห่งสร้างศาลาหรืออาคารแยกต่างหากไว้สำหรับวางกลองโดยเฉพาะเรียกว่าหอกลอง ในสมัยโบราณเมื่อครั้งยังไม่มีนาฬิกาใช้ดังเช่นทุกวันนี้ การตีกลองเพลนอกจากเป็นสัญญาณบอกเวลาฉันภัตตาหารแล้ว เสียงกลองที่ดังก้องไปยังหมู่บ้านยังเป็นเครื่องบอกเวลาให้ชาวบ้านทราบว่าเป็นเวลา 5 โมงเช้าหรือ 11.00 นาฬิกา เพลย่อมาจากคำว่า เพลง ซึ่งหมายถึงเวลา บางวัดตีกลองเพลคู่กับระฆังหลังจากพระสงฆ์ทำวัตรเย็นเรียบร้อยแล้ว จึงเรียกว่าเป็นเวลาย่ำค่ำ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ พิพิธภัณฑ์
ตำบล บ้านกล้วย อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบล บ้านกล้วย อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่