ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 2' 56.0886"
15.0489135
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 4.9332"
100.568037
เลขที่ : 169512
กาบสาดข้าว
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : ลพบุรี
0 1478
รายละเอียด
กาบสาดข้าว จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ชีวิตพระสุเมธาธิบดีมูลนิธิประชาสุขสันติ์ ที่ตั้งเลขที่ 84 หมู่ 4 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โทร. 0 3647 1847 กาบสาดข้าว หรือในภาษากลางเรียกว่า พลั่ว ส่วนทางภาคเหนือเรียกว่า พากไม้ เป็นเครื่องมือสำหรับตักข้าวเปลือกสาดเพื่อแยกเมล็ดข้าวซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ รูปร่างของกาบสาดข้าวจะคล้ายกับพายที่ใช้พายเรือ การเลือกไม้มาทำกาบสาดข้าวชาวบ้านมักจะเลือกทำจากไม้เนื้ออ่อนเพื่อให้มีน้ำหนักเบา เช่น ไม้มะกอก หรือไม้สัก ไม้สำหรับทำพลั่วจะมีความยาวประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 15 -20 เซนติเมตร ส่วนใบพายมีความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร และจะเจาะหรือขุดให้เป็นร่องลึก ด้ามยาวประมาณ 120 เซนติเมตร เหลาให้มีลักษณะกลมเหมือนด้ามพาย วิธีใช้กาบสาดข้าว ใช้มือจับบริเวณด้าม ใช้ปลายกาบสาดข้าวหรือพลั่วตักเล็ดข้าวที่ได้จากการนวดกองรวมกันอยู่ในลานข้าว สาดขวางทางลม เพื่อให้ส่วนที่ไม่ต้องการเช่น เมล็ดข้าวลีบ เศษผง เศษฟาง เศษดิน และสิ่งเจือปนอื่นๆ ที่เบากว่าปลิวไปตามลม คงเหลือแต่เมล็ดข้าวหล่นอยู่ในลาน หากในขณะนั้น ในกรณีไม่มีลมก็จะใช้พัดวี พัดให้เกิดลมแทนได้ การสาดข้าวต้องสังเกตแรงลมด้วยหากขณะมีลมแรงเกินไปจะไม่เหมาะ เพราะลมจะพัดเอาเมล็ดข้าวเปลือกไปด้วย นับเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยที่กินข้าวเป็นหลักมาเป็นเวลาช้านาน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ พิพิธภัณฑ์
ตำบล บ้านกล้วย อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบล บ้านกล้วย อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่