ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 8' 21.714"
17.139365
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 58' 15.2148"
102.970893
เลขที่ : 169668
พระพุทธบารมีโลกาธิบดีดำรง (ปางขอฝน)*
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุดรธานี
0 909
รายละเอียด
พระพุทธบารมีโลกาธิบดีดำรง (พระเจ้าใหญ่) เป็นพระพุทธรูปคันธารราษฎร์หรือพระพุทธรูปปางขอฝนหน้าตักกว้าง 6 เมตร 9 นิ้ว สูง 12 เมตร องค์พระและฐานมีความสูงรวม 30 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ภายในบรรจุพระบรม สารีริกธาตุ พระพุทธบารมีโลกาธิดีดำรงสร้างขึ้นในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ใน พ.ศ. 2539 โดยนายประจวบ ไชยสาส์น พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จังหวัดอุดรธานี และศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันสร้างเพื่อถวายในพระพุทธบูชาโดยเสด็จพระราชกุศล ซึ่งโครงการสร้างพระพุทธรูปได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้บรรจุโครงการร่วม เฉลิมพระเกียรติ และให้ใช้ตราสัญลักษณ์สำหรับงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 10 ล้านบาท การก่อสร้างพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ เริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 โดยมีพระราชวิทยาคมเถระ (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) วัดบ้านไร่ เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธบารมี โลการธิบดีดำรง " ซึ่งมีความหมายว่าพระบารมีของพระพุทธองค์ดำรงอยู่ เป็นใหญ่ในโลก และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีเบิกพระเนตร พระพุทธบารมี โลการธิบดีดำรง ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2542
หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดโพธิ์ชัย หมู่ 13
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านพันดอน
ตำบล แชแล อำเภอ กุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ วัดโพธิ์ชั หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านพันดอน
ตำบล แชแล อำเภอ กุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่