ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 24' 22.4892"
17.406247
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 14' 23.3196"
103.239811
เลขที่ : 169716
ฮีซ้อนปลา (ไทพวน) ชนาง-หรุ่น (กลาง)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย อุดรธานี วันที่ 30 มิถุนายน 2564
จังหวัด : อุดรธานี
0 420
รายละเอียด

ฮีซ้อนปลา เป็นภาษาไทยพวนหมายถึงเครื่องมือจับปลา ภาษากลางเรียกว่า ชนางหรือหรุ่น คำเรียกในภาษาถิ่นอื่นๆ เช่น อีรุน แซว หรือแซะ เป็นต้น ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับการใช้ช้อนปลาหรือกุ้งในแม่น้ำลำคลอง กอหญ้า ทุ่งนา หรือแหล่งน้ำตื้น ฮีช้อนปลามีลักษณะส่วนปากกว้างก้นสอบลึกรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายบุ้งกี๋ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 3 ขนาดคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ฮีช้อนปลาขนาดเล็ก สานด้วยตอกไม้ไผ่ มีขอบเป็นไม้ไผ่หวายหรือไม้เพื่อใช้เป็นมือจับ และเพื่อความแข็งแรงและทนทานในการใช้งาน วิธีใช้คือจับหางฮีหรือส่วนของด้ามไม้ไผ่ แล้วนำไปช้อนปลาหลังจากไถนาและคราดดินให้ละเอียด ขนาดของฮีช้อนปลาขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ เมื่อใช้ขนาดเล็กจะจับที่ขอบปากช้อนเข้าหาตัว ในลักษณะเดินถอยหลัง หรือจับขอบส่วนกึ่งกลางของฮีช้อนปลาทั้ง 2 ข้าง เดินช้อนไปข้างหน้าก็ได้ นิยมใช้บริเวณห้วงน้ำแคบ ๆ ใช้ช้อนกุ้งและปลาตัวเล็ก ฮีช้อนปลาขนาดกลาง ไม่ใช้ตอกไม้ไผ่แต่จะเหลาไม้ไผ่เป็นเส้นกลมเล็กมัดด้วยเส้นหวายหรือลวด มีความกว้าง 2 –3 เมตร ถ้าใช้ไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ ผูกเป็นโครงรูปสามเหลี่ยม มัดด้วยหวายหรือลวด ก้นใช้ไม้ไผ่ไขว้กันเป็นกากบาท เพื่อใส่บริเวณเอวเวลาช้อนปลา มักใช้กับเรือพายโดยมีคนพายท้ายเรือ คนที่อยู่หัวเรือจะเป็นคนช้อนปลา เอาไม้ส่วนที่เป็นกากบาทไขว้กันไว้ตรงเอวเพื่อยกได้สะดวก ตอนพายเรือให้ทางด้านกว้างหรือปากจุ่มลงไปใต้ผิวน้ำ หันปากไปข้างหน้า ฮีช้อนปลาขนาดใหญ่ จะมีขนาดใหญ่มากไม่สามารถจับหรือช้อนปลาไปข้างหน้าได้ รูปทรงคล้ายกับขนาดกลางและขนาดเล็ก แต่จะทำเป็นทำโครงไม้ไผ่โค้งเพื่อให้จับปลาไปอาศัยอยู่ภายในได้ สานด้วยผิวไม้ไผ่ยาวเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยม มีขาเป็นไม้ไผ่ 2 ลำ เวลาใช้หย่อนลงไปในน้ำมักจะเป็นริมฝั่งแม่น้ำที่ค่อนข้างลึกหรือดักปลากลางแม้น้ำ โดยให้ปลายขาไม้ไผ่โผล่พ้นน้ำ ใส่เศษไม้ใบหญ้าหรืออาหารแล้วแช่น้ำทิ้งไว้หลายวัน เมื่อคาดว่าปลาไปอาศัยอยู่แล้ว จะใช้คน 2 คน ช่วยกันยกขึ้น ทางด้านก้นจะมีรูปิดเปิด เพื่อให้ปลาลอดช่องลงมาใส่อุปกรณ์เช่นปากข้องที่เตรียมรองรับไว้ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสระแก้ว ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน วัดสระแก้ว ได้เก็บรักษาฮีช้อนปลาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการค้นหาอดีตและวิถีไทพวนที่บ้านเชียง

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดสระแก้ว เลขที่ 33 หมู่ 13
ตำบล บ้านเชียง อำเภอ หนองหาน จังหวัด อุดรธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ชุมพร สุทธิบุญ
อีเมล์ pk2pol@gmail.com
เลขที่ พิพิธภัณฑ์
ตำบล บ้านเชียง อำเภอ หนองหาน จังหวัด อุดรธานี
โทรศัพท์ โทร 081-485-1864
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่