ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 39' 52.5312"
17.664592
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 17' 10.7916"
103.286331
เลขที่ : 169812
ลอบจับปลา
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุดรธานี
0 1395
รายละเอียด
ลอบคือเครื่องมือดักจับปลา สานด้วยไม้ไผ่ใช้หวายเถาวัลย์หรือลวดรัดโครงไม้ ลอบมีช่องว่างให้ปลาว่ายเข้าไปติดอยู่ภายใน ลอบที่มีใช้อยู่ในพื้นบ้านมีอยู่ 3 ประเภท คือ ลอบนอน ลอบยืน และลอบกุ้ง ลอบนอน ใช้ดักปลาในน้ำไหล ในขณะที่ลอบยืนนั้นใช้ดักปลาในน้ำลึก สำหรับลอบกุ้งจะใช้ลอบนอนหรือลอบยืนก็ได้ แต่การสานซี่ไม้ไผ่จะต้องมีระยะชิดกันเพื่อไม่ให้กุ้งลอดออกไปได้ หรืออาจใช้ตาข่ายถี่ ๆ หรือผ้ามุ้งคลุมรอบตัวลอบด้วย เหยื่อที่ใช้ เช่น กากน้ำตาล รำละเอียดผสมดินเหนียวปั้นเป็นก้อน ลอบจับปลาที่จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ความเชื่อวิถีชีวิตในชุมชน วัดพระวิสุทธิวงศ์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีรูปทรงที่ต่างไปจากที่อื่น คือ จะเป็นทรงกรวย ปากลอบจะกว้าง ในขณะที่ก้นลอบจะสอบลง และปล่อยปลายตอกไว้ ซึ่งจะบีบตัวเข้าหากันตามรูปทรงของลอบที่สอบลง ซึ่งเมื่อปลาเข้าไปแล้วจะไม่สามารถออกไปได้
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ความเชื่อ วิถีชีวิตในชุมชน วัดพระวิสุทธิวงศ์
อำเภอ บ้านดุง จังหวัด อุดรธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ พิพิธภัณฑ์
อำเภอ บ้านดุง จังหวัด อุดรธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่