ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 13' 31"
15.2252777777778
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 51' 47"
104.863055555556
เลขที่ : 169903
หลวงพ่อเงิน 700 ปี
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1977
รายละเอียด
หลวงพ่อเงิน พระชัยหลังช้างแห่งแผ่นดินอีสาน เป็นพระพุทธรูปเนื้อเงินปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนล้านช้าง ฝีมือตระกูลช่างชาวบ้าน อายุประมาณ ๗๐๐ ปี ขึ้นไป จากนิมิตของ หลวงพ่อพระมงคลธรรมวัฒน์ ทำให้ทราบว่า หลวงพ่อเงิน เป็นพระพุทธรูปที่มีความเกี่ยวข้องกับการสถาปนาเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำกองทัพ ของเจ้าปางคำ แห่งราชวงศ์เชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า สิบสองปันนา ที่แตกหนีกองทัพจีนฮ่อมาสร้างนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน หนองบัวลุ่มภู ในปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ในการนั้น เจ้าปางคำได้อัญเชิญหลวงพ่อเงินขึ้นเป็นพระพุทธรูปประจำทัพมาด้วย ต่อมา ราวปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ พระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ได้ครองราชย์ เกิดหวาดระแวงเจ้าพระวอ เจ้าพระตาว่าจะเป็นกบฏ พระเจ้าสิริบุญสารจึงได้ยกทัพมาตี นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ทำให้เจ้าพระตาถึงแก่อสัญกรรม ในสนามรบ เจ้าพระวอ ผู้น้องขึ้นเป็นผู้นำกองทัพแทน และได้ย้ายบ้านเมืองจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน มาตั้งบ้านเมืองอยู่ที่บ้านดอนมดแดง อันเป็นบริเวณอำเภอดอนมดแดงตลอดลำน้ำมูลขึ้นมาจนถึงตำบลกุดลาด ไปจนถึงที่ตั้งเมืองอุบลราชธานี ในปัจจุบัน ภายหลังเจ้าพระวอ ถูกทหารเวียงจันทน์โจมตี จนถึงแก่อสัญกรรมที่ค่ายบ้านดู่บ้านแก เขตนครจำปาศักดิ์ ประวัติความเป็นมา ของ หลวงพ่องิน อันสืบเนื่องจาก เมื่อคราว พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล)ได้ สร้างพระอุโบสถมิตรภาพไทย-อเมริกัน นึ้น ท่านได้นิมิตถึง ตาชีปะขาว มาบอกว่าที่ วัดป่าพิฆเณศวร์ ยังมีสมบัติอยู่มาก แต่ไม่สามารถที่จะนำขึ้นมาได้ พร้อมกับระบุตำแหน่งให้ทราบ ของบางอย่างเจ้าของเขาไม่ให้ ของบางอย่าง นำขึ้นมาก็จะเกิดอันตรายแก่ผู้ครอบครอง แต่ยังมีของสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ควรที่จะอยู่ใต้แผ่นดิน อยากให้ไปเอาขึ้นมาเก็บรักษาไว้ เพื่อเป็น สมบัติของพระศาสนา ให้ลูกหลานได้เคารพสักการบูชา ของสิ่งนั้น คือ “ พระพุทธรูปเงิน ” พร้อมกับกล่าวต่อไปว่ารุ่งขึ้นจะเกิดพายุในตอนบ่าย ต้นตาล ภายในวัดจะหัก ปลายตาลหักไปทางทิศไหน ก็ให้ไป ขุดตรงที่ปลายตาลที่ล้มลง ครั้นแล้ว ชายในชุดขาวก็หายไป เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา พระมงคลธรรมวัฒน์ เกิดความรู้สึกเป็นสุขเอิบอิ่มใจอย่างประหลาด ครั้นต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ดังนิมิต ชาวบ้านได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า ปกติต้นตาลเป็นต้นไม้ที่มีความแข็งแรง แม้ถูกลมพัดก็ยากที่จะหักโค่น แต่วันนั้นต้นตาล ในวัดร้างเมื่อถูกลมก็หักโค่นลงผิดปกติวิสัย สิ่งที่แปลกและน่าอัศจรรย์ คือ แทนที่ต้นตาลจะล้มไปตามแรงลม แต่ต้นตาลกลับทวนกระแสลม ล้มลงทางทิศเหนือ พระมงคลธรรมวัฒน์ ได้นำชาวบ้านไปที่วัดป่า แล้วจุดธูปเทียน เครื่องสักการบูชาคุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ พร้อมกับอธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่า “ หากเป็นจริงดังนิมิต ท่านก็จะรักษาพระพุทธรูปไว้ให้เป็นที่เคารพสักการบูชาของลูกหลานและพุทธศาสนิกชนสืบไป ขออย่าได้มีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง” ครั้นแล้วก็ขุดตรงที่ปลายต้นตาลหักลงตามนิมิต เมื่อขุดลงไปลึกประมาณชั่วคนยืน ก็ได้พบแผ่นศิลา ๔ เหลี่ยมถูกจัดไว้ในลักษณะหีบ มีความสวยงาม อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ทุกประการ ถูกฝังอยู่ใต้ดิน ลักษณะของการฝังผู้ฝังมีการเตรียมการไว้อย่างดี เมื่อนำขึ้นมาเปิด ฝาหีบออกก็ปรากฏว่า ภายในหีบศิลานั้นมีทรายเนื้อละเอียดสีขาวใสบริสุทธิ์เต็มหีบศิลานั้น เมื่อทรายต้องแสงอาทิตย์ก็ส่องประกายวาว ระยิบระยับ เมื่อนำทรายออกมา ก็เห็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อเงินบริสุทธิ์ ประดิษฐาน อยู่ภายใน หีบศิลานั้น ดังนิมิต ท่านบอกว่า “เสียดายที่หลวงพ่อไม่ได้เก็บทรายนั้นไว้” พระพุทธรูป นั้นคง พุทธลักษณะ ที่มีความงดงาม แม้จะถูกฝังรักษาไว้ใต้พื้นดินก็ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ผิวเงินยังสวยงามโดยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนใดๆ พระมงคลธรรมวัฒน์อัญเชิญหลวงพ่อเงินประดิษฐานไว้ แล้วน้อมลงกราบด้วยปีติและศรัทธาที่ตั้งมั่น จากนั้น ท่านได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ วัดปากน้ำ และถวายนามว่า “ หลวงพ่อเงิน” โดยกำชับชาวบ้านมิให้นำเรื่องนี้ไปบอกกล่าวให้ใครฟัง การที่ท่านกำชับไม่ให้ชาวบ้านนำเรื่องนี้ไปเล่าให้ใครฟัง เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหาและถูกยึดไปเป็นสมบัติของหลวงเหมือนเมื่อครั้งขุด พระพิฆเณศวร์ ได้ ส่วน หีบศิลาหินทราย ท่านให้นำไปวางไว้ ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ ภายในบริเวณวัดป่าแห่งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธองค์ ต่อมา ต้นโพธิ์ก็ได้ห่อหุ้มหีบศิลานั้นเอาไว้แล้วกลืนหายไปตามกาลเวลา พระมงคลธรรมวัฒน์ เล่าว่า เมื่อครั้งชาวบ้านขุดพบ พระพิฆเณศวร์ที่บริเวณวัดป่าแห่งนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส ป.ธ. ๕ พุทธศักราช ๒๔๘๒-๒๔๙๙) ทราบข่าว ท่านได้ออกมาตรวจสอบและขอไป ปัจจุบัน พระพิฆเณศวร์ถูกนำไปเก็บไว้ที่วัดสุปัฏนาราม เมืองอุบลราชธานี เมื่อมีการขุดพบ พระพุทธรูป ตามที่ปรากฏใน นิมิตของ หลวงพ่อพระมงคลธรรมวัฒน์ ชาวบ้าน ทุกคนจึงถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรักษาหลวงพ่อเงินเทพนิมิตไว้เป็นมรดกของลูกหลานในหมู่บ้าน ต่อมาท้าวคำผง ผู้บุตรเจ้าพระตา ได้ขึ้นเป็นผู้นำกองทัพ และได้แต่งตั้งให้ทหารไปเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสืบไป หลวงพ่อเงิน จึงน่าจะเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองที่มี ความสำคัญ หรือพระพุทธรูปประจำค่ายบ้านดอนมดแดงของเจ้าพระวอ ถ้าจะเปรียบก็น่าจะอยู่ในระดับพระไชยหลังช้าง คือ เป็นพระพุทธรูปประจำทัพ เมื่อจะไปทัพที่ไหน เมื่อเกิดสงครามที่ไหน ก็จะอัญเชิญ พระพุทธรูปประดิษฐานบนหลังช้างไปกับกองทัพ เพื่อให้เป็นสิริมงคลและเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ การขุดพบพระพุทธรูปเงินศิลปะเชียงแสนล้านช้าง บริเวณ วัดป่าพิฆเณศวร์ บุ่งสระพัง จึงมีความเป็นไปได้ว่า บริเวณ วัดป่าพิฆเณศวร์น่าจะเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ในการตั้งบ้านเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ของกองทัพเจ้าพระวอ ภายหลังอพยพมาจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานสู่ลุ่มน้ำมูล
สถานที่ตั้ง
วัดปากน้ำ หมู่ 10
เลขที่ บ้านปากน้ำ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง
อีเมล์ info@paknamubonclub.com
เลขที่ วัดปากน้ำ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านปากน้ำ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 08 7440 7977
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่