ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 14' 48.31"
15.2467527777778
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 50' 43.9"
104.845527777778
เลขที่ : 169937
เกวียน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1703
รายละเอียด
เกวียน นับว่าเป็นพาหนะสำคัญของคนอีสานในอดีต ที่ทำให้เคลื่อนที่ไป โดยใช้วัวหรือควายเทียมลากไป มีล้อเลื่อนที่ทำด้วยไม้ มี 2 ล้อ ใช้ในการเดินทางและบรรทุกสิ่งของ เกวียนสามารถเดินทางผ่อนผิวถนนขรุขระหรือถนนที่เต็มไปด้วยโคลนตมได้ดี โดยทั่วไปแล้วเกวียนจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด เกวียนควายและเกวียนวัว เกวียนวัวนั้นมีลักษณะเตี้ยและกว้างกว่าเกวียนควาย ทางภาคอีสานจะออกเสียง “เกวียน” ว่า “เกียน” ส่วนทางภาคเหนือก็มีพาหนะลักษณะเดียวกับเกวียนใช้เหมือนกัน แต่จะเรียกว่า “ล้อ” ส่วนประกอบของเกวียนจะมีอยู่ 2 ส่วนหลัก คือ ล้อและตัวเรือน ล้อจะมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.40-1.60 เมตร ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ล้อทั้งสองจะเชื่อมต่อกันด้วยเพลา ซึ่งล้อนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกวียนเคลื่อนที่ไปได้ สำหรับตัวเกวียนจะเป็นส่วนที่ใช้บรรทุกคนหรือสิ่งของ ต้นกำเนิดของการใช้เกวียน ยังไม่มีผู้ใดบันทึกไว้ แต่เชื่อกันว่ามนุษย์ใช้เกวียนในการเดินทางมานานแล้ว จนกระทั่งมีเครื่องยนต์เข้ามา ถนนหนทางเริ่มพัฒนาขึ้น การเดินทางด้วยเกวียนในปัจจุบันนี้แทบจะหาได้น้อยมาก เราจึงพบเกวียนอยู่ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่ ล้อเกวียนก็นำมาตกแต่งอาคารร้านค้าหรือทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ จึงเป็นไปได้ว่าการใช้เกวียนเพื่อการเดินทางคงจะลบเลือนไปในที่สุด เกวียนขนาดใหญ่นี้มีจัดแสดงไว้ที่หออุบลวิทัศน์ อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก เลขที่ 2 ถนนแจ้งสนิท ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สถานที่ตั้ง
หอวัฒนธรรมอุบลวิทัศน์ ชั้น 1 อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก เลขที่ 2 ถนนแจ้งสนิท
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง หอวัฒนธรรมอุบลวิทัศน์ ชั้น 1 อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก เลขที่ 2 ถนนแจ้งสนิท
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 0 4535 2000-29 ต
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่