ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 17' 57.23"
15.2992305555556
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 6' 24.84"
105.1069
เลขที่ : 169952
ฝักมีด
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1744
รายละเอียด
ฝักมีด หรือ ที่เรียกว่า ปลอกมีดในภาษาไทยถิ่นกลาง หรือบางท้องที่เรียกว่า ซบมี เป็นอุปกรณ์สวมมีดเพื่อป้องกันอันตรายจากคมมีด หรือสะดวกในการพกพาเมื่อนำมีดติดตัวออกจากบ้านไปทำไร่ ทำนา หรือถางป่า ในสมัยโบราณมักจะพกมีดไว้ที่เอวด้านหน้าหรือด้านหลังเวลาเดินทาง เอาไว้ป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายหรือในกรณีที่จะต้องปีนป่ายต้นไม้ ขึ้นในที่สูงเพ่อประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น ปาดตาลมาทำน้ำตาล ขึ้นต้นมะพร้าว หรือตัดกิ่งไม้ ฝักมีดมีหลายชนิดมีทั้งที่ทำด้วยไม้ หนัง โลหะ และไม้ไผ่สาน ส่วนฝักมีดที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสว่างพิมพ์ธรรมเป็นประเภทที่ทำจากหวาย โดยนำหวายมาจักเป็นเส้น แล้วนำมาสานเป็นรูปทรงเหมือนมีด ซึ่งฝักมีดโดยทั่วไปก็จะมีรูปร่างคล้ายกับใบมีดที่อยู่ภายในและมักจะทำขึ้นมาสำหรับมีดเล่มหนึ่งเล่มใดโดยเฉพาะ แต่ฝักมีดที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับใส่มีดพร้ามักทำเป็นซองเรียบๆ เพื่อให้ใส่มีดได้หลายขนาด ฝักมีดที่จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสว่างวีระวงศ์ บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานีนั้น มีอายุราว 140 ปี บริจาคโดยชาวบ้านสว่าง (ไม่ปรากฏชื่อผู้บริจาค)
สถานที่ตั้ง
หมู่ 8 ถ.สถิตย์นิมมานกาล
เลขที่ บ้านสว่างอ
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ หมู่ 8 ถ.ส หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านสว่างออก
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 08 6702 7652
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่