ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 17' 57.23"
15.2992305555556
Longitude : E 105° 24' 50.4"
105.414
No. : 169964
โหวด
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Ubon Ratchathani
0 1678
Description
โหวด คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมหรือเครื่องเป่าแบบไม่มีลิ้น คนโบราณเชื่อกันว่า โหวดเป็นเครื่องมือที่ใช้บนบานขอฝนในช่วงฤดูแล้ง เสียงของโหวดสามารถสื่อไปถึงพญาแถนซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ประทานน้ำฝนได้ ในอดีตโหวดเป็นเพียงเครื่องเล่นของเด็ก ๆ ที่ใช้แกว่งเพื่อให้เกิดเสียงเพื่อความเพลิดเพลินขณะที่ออกไปเลี้ยงวัวหรือควายเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้โหวดก็ได้กลายมาเป็นเครื่องดนตรีอีกชิ้นหนึ่งที่อยู่ในวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน โดยผู้ที่ได้คิดค้นนำโหวดมาใช้เป็นเครื่องดนตรีเป็นคนแรก คืออาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญดนตรีพื้นบ้าน (โหวด) แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งอาจารย์ได้คิดค้นและนำออกแสดงร่วมกับเครื่องดนตรีแคน พิณ และโปงลางเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2511 โหวดทำจากไม้ส่วนปลายที่เหลือจากการทำแคน เรียกว่า ไม้กู่แคน ตัวโหวดจะประกอบด้วยลูกโหวดทรงกระบอกหลาย ๆ ลูก ที่มีความยาวแตกต่างกัน มามัดเรียงติดกับแกนกลางรูปทรงกลม เสียงโหวดจะเกิดขึ้นเมื่อเป่าลมเข้าที่รูปากลูกโหวด เมื่อลมกระทบกับปากลูกโหวดก็จะทำให้เกิดเสียง ซึ่งความยาวของลูกโหวดแต่ละลูกก็จะทำให้เกิดเสียงต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน โหวดในภาพอยู่ในความครอบครองของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสว่างพิมพ์ธรรม บ้านสว่างออก ตำบลสว่าง อำเภอสว่างวีรวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีชาวบ้าน (ไม่บันทึกชื่อ) มามอบให้กับพิพิธภัณฑ์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
Location
หมู่ 8 ถ.สถิตย์นิมมานกาล
No. บ้านสว่างอ
Tambon สว่าง Amphoe Sawang Wirawong Province Ubon Ratchathani
Details of access
No. หมู่ 8 ถ.ส Moo บ้านสว่างออก
Tambon สว่าง Amphoe Sawang Wirawong Province Ubon Ratchathani
Tel. โทร 08 6702 7652
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่