ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 9' 32.8608"
15.159128
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 46' 43.8096"
104.778836
เลขที่ : 170009
การทำปลาร้า
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
1 2033
รายละเอียด
“ปลาร้า” คือภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารด้วยการหมัก ซึ่งพบในทุกภาคของประเทศไทย มีกรรมวิธีที่ใกล้เคียงกันคือหมักปลาด้วยเกลือ แต่จะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ภาคเหนือจะเรียกว่า “ปลาฮ้า” ภาคใต้เรียก “ร่า” ภาคกลางเรียก “ปลาร้า” ส่วนภาคอีสานเรียก “ปลาแดก” ปลาร้า หรือ ปลาแดก ในภาคอีสาน ถือว่าเป็นอาหารหลักประจำบ้าน ในอดีตเกือบทุกครัวเรือนจะทำปลาร้าไว้รับประทานเอง ในช่วงหน้าฝน น้ำเต็มแม่น้ำลำคลอง ปลาจากแม่น้ำโขงหรือแม่น้ำสาขาต่าง ๆ จะมีมาก ชาวอีสานจะจับปลามารับประทานส่วนหนึ่ง และนำอีกส่วนหนึ่งมาทำปลาร้า เพื่อเก็บไว้กินในช่วงหน้าแล้ง โดยอาจจะรับประทานปลาร้าโดยตรง หรือนำมาปรุงรสกับอาหารประเภทอื่น เช่น ก้อย ลาบ แกงหน่อไม้ ส้มตำ เป็นต้น ส่วนประกอบในการทำปลาร้าที่สำคัญ คือ (1) ปลา เช่น ปลาขาว ปลาหมอ ปลาจิเลิด ปลากระดี่ หรือปลาอื่น ๆ ในท้องถิ่น (2) เกลือ (3) ข้าวคั่ว เมื่อได้ปลาที่จะทำปลาร้ามาแล้ว จะนำมาล้างน้ำเปล่า ถ้าปลาตัวไม่ใหญ่ก็ไม่ต้องเอาไส้ออก แต่ถ้าตัวใหญ่ให้ควักเอาไส้ออกให้สะอาด โดยล้างน้ำเกลือรอบหนึ่งเพื่อลดความคาว จากนั้นให้นำมาหมักเกลือ ซึ่งปลาที่ได้ควรหมักเกลือทันทีไม่อย่างนั้นจะเน่า หมักทิ้งไว้ 2 คืน คลุมด้วยผ้าขาวบางให้มิดชิด เพื่อกันแมลงวันมาวางไข่ พอคร 2 คืน ก็ให้นำใส่ภาชนะ เช่น โอ่งหรือไห ในขั้นตอนนี้จะใส่ข้าวคั่วลงไปคลุกให้เข้ากัน ซึ่งจะช่วยให้ปลาร้ามีสีแดงและมีกลิ่นหอม จากนั้นก็เติมน้ำ 1 ใน 4 ของปริมาณภาชนะ ปิดฝา เก็บไว้ประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่ทำปลาร้าสำหรับทำส้มตำ ให้เก็บไว้แค่ 6 เดือนก็ได้ และไม่ต้องใส่ข้าวคั่ว ปัจจุบันการทำปลาร้าเพื่อเป็นอาหารประจำครัวเรือน เริ่มมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเมือง ที่หลายบ้านเริ่มไปซื้อปลาร้ามาจากตลาด การถ่ายทอดจึงมีเฉพาะครอบครัวที่ทำเป็นอาชีพ และสำหรับผู้ที่สนใจจะทำเป็นอาชีพเท่านั้น ส่วนวัฒนธรรมการรับประทานปลาร้านั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงแต่ประการใด “ปลาร้า” ก็ยังคงเป็นอาหารหลักในรายการอาหารของคนท้องถิ่นอีสานเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 18 หมู่ 19
ตำบล หนองกินเพล อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางหนูพิน พิมพ์ชาย
เลขที่ เลขที่ 18
ตำบล หนองกินเพล อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่