ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 11' 53.3904"
15.198164
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 49' 58.224"
104.83284
เลขที่ : 170010
การปั้นหม้อดินบ้านท่าข้องเหล็ก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 2373
รายละเอียด
การปั้นหม้อแบบดั้งเดิมในจังหวัดอุบลราชธานี มีอยู่ที่บ้านท่าข้องเหล็ก อำเภอวารินชำราบ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ดินบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงใช้ดินบริเวณลุ่มน้ำมูลนั้นเองในการปั้นหม้อ การปั้นหม้อจะเริ่มจากนำดินจากแมน้ำมาหมักประมาณ 1 วัน ดินที่ใช้ปั้นหม้อต้องเป็นดินดำ เพราะเป็นดินคุณภาพดี เมื่อเผาแล้วจะไม่ค่อยแตกง่าย จากนั้นนวดดินกับแกลบในอัตราส่วน 1:1 ในระหว่างการนวดต้องผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากันได้ดี จากนั้นจึงนำที่ได้ที่แล้วมาขึ้นรูป โดยเริ่มจากทำเบ้าก่อน คือนวดดินให้เป็นรูปทรงกระบอก แล้วค่อย ๆ กลึงด้วยไม้กลมให้กว้างออกจนมือสอดเข้าไปได้ จากนั้นจึงนำไปวางบนแท่นไม้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วจึงเริ่มทำปากหม้อ เมื่อขึ้นปากแล้วจึงใช้ถ่านทาและใช้ไม้ตีที่ด้านนอก เนื้อหม้อจะเริ่มบางลง ตีรูปให้ได้ตามต้องการ ทำลวดลายที่ปาก แล้วจึงนำไปตากแดดประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากตากแดดแล้ว ให้นำกลับมาตีใหม่ เพื่อให้ได้ก้นทรงกลมและให้เนื้อภาชนะบางขึ้น เมื่อได้ทรงเรียบร้อยก็จะนำไปตากแดดอีกรอบประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำเข้าเตาผา
สถานที่ตั้ง
เลขที่ บ้านท่าข้อ
อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านท่าข้องเหล็ก
อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่