ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 36' 59.39"
15.6164972222222
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 1' 11.36"
105.019822222222
เลขที่ : 170029
หอไตรหนองขุหลุ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 2683
รายละเอียด
หอไตรหนองขุหลุสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2461 วัตถุประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเก็บคัมภีร์ใบลานและตำราทางพุทธศาสนาของวัดศรีโพธิ์ชัย ซึ่งมีเป็นจำนวนมากและจำเป็นต้องหาที่เก็บให้ปลอดภัยจากแมลงและสัตว์ตัวเล็กที่อาจมาทำให้เกิดความเสียหายได้ หลวงปู่สิงห์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย และหลวงราษฎร์บริหาร ( สด กมุทมาศ ) นายอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น จึงปรึกษาและเห็นพ้องกันว่าควรสร้างหอไตรกลางน้ำ ณ หนองขุหลุ ที่อยู่ในเขตอำเภอตระการพืชผลแห่งนี้ เนื่องจากเป็นทำเลที่เหมาะสม หอไตรดังกล่าวจึงได้สร้างขึ้นในหนองขุหลุ ของบ้านขุหลุ ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งเป็นหนองน้ำที่อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านในสมัยนั้น ปัจจุบันหมู่บ้านได้พัฒนาเป็นตัวอำเภอตระการพืชผล คำว่ “ขุหลุ” เป็นคำภาษาไทยถิ่นอีสาน คำว่า “ขุ” เพี้ยนเสียงมาจาคำว่า “ครุ” ซึ่งแปลว่ากระบุงที่เอาไว้ใส่ของมีไม้คานหาบ ส่วน “หลุ” แปลว่าทะลุ ซึ่งมีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ในอดีตมีเจ้าขุนเมืองท่านหนึ่งเดินทางผ่านมาจากถิ่นอื่น โดยนำเอาทองใส่ครุหาบมาด้วย เมื่อมาถึง ณ บริเวณที่เป็นหนองขุหลุขณะนี้ ครุที่ใส่ทองเอาไว้เกิดทะลุเป็นรู ทองก็หล่นลง แล้วทำให้ดินแถวนั้นยุบลงกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสานที่มีความงามเรียบง่าย โดยฝีมือช่างท้องถิ่น ประกอบด้วยอาคารไม้ยกพื้นสูง รองรับด้วยเสาไม้ 25 ต้น ทำจากไม้พรรณชาติ เรียงเป็นแถว ๕ แถว แถวละ ๕ ต้น ดัวอาคารเป็นเรือนไม้แบบเครื่องสับ หลังคามี สองส่วน คือส่วนบนเป็นทรงจั่ว ส่วนชั้นล่างทำเป็นหลังคาปีกนก (พะไร) ปัจจุบันมุงกระเบื้องดินเผา ส่วนประดับหลังคาคือตัวเหงาไม้แกะสลักรูปนาค ช่อฟ้า (โหง่) รวยระกา และคันทวย แกะสลักเป็นลายก้านขด คล้ายเลข ๑ ไทยซ้อนกันและหันหัวแย้งกันสามชั้น โดยรอบอาคารตีไม้เข้าลิ้นในแนวตั้ง ทรวดทรงอาคารแผ่กว้าง หลังคาสูงทิ้งชายคาลาดต่ำ ให้ความรู้สึกสงบนิ่งและสมดุล ภาย ในเป็นห้องทึบสำหรับเก็บคัมภีร์ใบลาน มีประตูทางเข้าทางด้านทิศใต้ทางเดียว ส่วนที่ใช้ประดับตกแต่ง ที่เป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวย ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย แสดงถึงฝีมือช่างพื้นถิ่น เดิมจะไม่มีสะพานเชื่อมติดเมื่อก่อนพระต้องพายเรือเข้าไป ความสำคัญของหอไตรหนองขุหลุ นอกจากจะเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแล้ว ยังนับเป็นปูชนียสถานที่เรียกว่า “ธรรมเจดีย์” การ อนุรักษ์หอไตรหนองขุหลุ จึงเป็นยิ่งกว่าการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม แต่เป็นการสืบทอดพระศาสนาให้ดำรงอยู่เป็นสรณะของชาวพุทธที่ยั่งยืนสืบไปอีก ประการหนึ่งด้วย ในปี 2547 ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น จากกรมศิลปากร
หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ บ้านขุหลุ
ตำบล โขงเจียม อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง หอไตรหนอขุหลุ
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านขุหลุ
ตำบล โขงเจียม อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่