ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 13' 54"
15.2316666666667
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 52' 28"
104.874444444444
เลขที่ : 170035
หอไตรวัดบูรพา
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1485
รายละเอียด
หอไตรวัดบูรพาจัดเป็นประเภทหอบก คือ สร้างบนพื้นดิน ซึ่งต่างกับหอไตรที่สร้างบนน้ำเช่นหอไตรที่วัดทุ่งศรีเมืองเป็นต้น หอไตรวัดบูรพามีลักษณะเป็นเรือนไม้ขนาด 3 ห้อง 2 หลัง คู่กัน ยกพื้นสูงด้วยเสาไม้กลมหลังละ 8 ต้น มีชานเชื่อมตรงกลางอาคารทั้งสอง แต่ปัจจุบันชานได้หักลงมาหมดแล้ว หลังคาเป็นทรงจั่ว หน้าจั่วทำลวดลายรัศมีพระอาทิตย์ ฝาผนังอาคารตีไม้ในแนวเฉียงเป็นลายก้างปลา ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้างละ 3 บาน รองรับด้วยหย่องลายแข้งสิงห์ (หย่องคือไม้ใต้บานประตูหน้าต่างทำเป็นกรอบแกะเป็นลวดลาย) ตอนล่างของผนังอาคารโดยรอบตกแต่งด้วยลายบัวฟันยักษ์ ประดับด้วยกระจกสีเหลือง สีขาวและสีเขียว หอไตรนอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาในพระพุทธศาสนาและความปรารถนาที่จะรักษาพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของช่างในแต่ละท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นภาคไหนในประเทศไทย อีกทั้งยังแสดงถึงภูมิปัญญาของคนโบราณที่สร้างหอไตรให้พ้นจากตัวแมลงที่กัดกินกระดาษ เช่น มอด ปลวก เป็นต้น จึงสร้างหอไตรในน้ำ หรือหากสร้างบนบกก็สร้างให้สูงขึ้นเป็นสองชั้น จึงนับได้ว่าหอไตรเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างแท้จริง หอไตร ถือเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างแท้จริง ดังนั้น การอนุรักษ์และบูรณะหอไตรในเชิงสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธจึงควรรักษาไว้คู่พระพุทธศาสนาไทยต่อไป
สถานที่ตั้ง
วัดบูรพา ถนนบูรพาใน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดบูรพา
เลขที่ ถนนบูรพาใน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่