ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 13' 31"
15.2252777777778
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 51' 10"
104.852777777778
เลขที่ : 170060
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1778
รายละเอียด
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูลที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการเมืองอุบลราชาธานี ซึ่งมีพระพรหมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีเป็นประธานเลือกพื้นที่สร้างวัด โดยเริ่มลงมือปรับพื้นที่เมื่อ พ.ศ.2393 แล้วเสร็จในปีพ.ศ.2396และประกาศจัดตั้งเป็นวัดปีเดียวกัน วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เรียกโดยทั่วไปว่าวัดสุปัฏน์ หมายถึงวัดที่มีที่ตั้งเหมาะสมเป็นท่าเรือที่ดี สถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การบำเพ็ญศาสนกิจ ส่วนอีกความหมายหนึ่งหมายถึง สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ เปรียบดังท่าเรือที่ให้มวลมนุษย์ข้ามพ้นการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกมนุษย์ วัดสุปัฏนารามวรวิหารเป็นวัดธรรมยุตินิกายแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายในวัดประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ 2 องค์ ได้แก่ พระสัพพัญญูเจ้า และพระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง รวมทั้งพระอุโบสถที่เก่าแก่และสวยงามผสมผสานสถาปัตยกรรม 3 ชนชาติคือ มีหลังคาศิลปะแบบไทย ส่วนกลางของตัวพระอุโบสถศิลปะแบบเยอรมัน และ ส่วนฐานพระอุโบสถแบบขอมโบราณ หลังจากนั้นได้มีการบูรณะอุโบสถหลายครั้งเนื่องจากการชำรุดทรุดโทรม และเมื่อพระครูวิมลอุปลารักษ์ รักษาการเจ้าอาวาสได้บูรณะอาคารพระอุโบสถ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2540 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในนิทรรศการสถาปนิก 40
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดสุปัฏนาราม
ตำบล โนนผึ้ง อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดสุปัฏนาราม
เลขที่ วัดสุปัฏนา
ตำบล โนนผึ้ง อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่