ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 17' 23.8848"
18.289968
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 30' 20.0952"
99.505582
เลขที่ : 170434
หออะม็อก (ป้อมปืนโบราณ)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ลำปาง วันที่ 2 กรกฎาคม 2564
จังหวัด : ลำปาง
0 636
รายละเอียด

หออะม็อก หรือป้อมปืนโบราณ ตั้งอยู่ที่ใกล้วัดหัวเวียง ถนนรอบเมือง ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง คำว่า "อะม๊อก" เป็นภาษาพม่า แปลว่า ปืนใหญ่โบราณ หออะม๊อกจึงหมายถึงป้อมปืนโบราณ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2351 ในรัชสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 3 แห่งทิพย์จักรวงศ์สัตตราชา เจื้อเจ้าอันเป็นเค้าอยู่หนเหนือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนนครลำปาง สกุลปงยางคก-ป่าหนาดคำ (บ้านเอื้อม) (ทรงครองนครตั้งแต่ปี พ.ศ.2337 - พ.ศ.2367 รวมเวลา 31 ปี) ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี “หออะม็อก” เป็นอาคารขนาดใหญ่ รูปแปดเหลี่ยมเกือกม้าวงรี ก่อด้วยอิฐสอดินดิบ เป็นป้อมปืนใหญ่ ป้องกันข้าศึกศัตรู และเป็นหอสังเกตการณ์ ตรวจความเรียบร้อยทั้งโดยรอบบริเวณ และภายในกำแพงนคร พื้นที่ภายในป้อมกว้างประมาณ 13 เมตร ยาวประมาณ 17 เมตร สูงประมาณ 10.25 เมตร ฐานของกำแพงจะลดหลั่นขึ้นไปเป็นตอนๆ ยอดกำแพงป้อมหน้าประมาณ 1.50 เมตร ส่วนยอดสุดของกำแพงป้อมเป็นรูปใบเสมา กว้าง 1.50 เมตร หนา 1 เมตร มีช่องทางเข้า-ออก ด้านตะวันตกด้านเดียว ซึ่งเป็นด้านในของ กำแพงเวียง

หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านศรีเกิด
อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง
บุคคลอ้างอิง ศุขฐิ์เกษม ฝั้นคำอ้าย
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง อีเมล์ culture_lampang@hotmail.com
เลขที่ 409 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ถนน พระเจ้าทันใจ
ตำบล ต้นธงชัย อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52000
โทรศัพท์ 0 5422 8763 โทรสาร 0 5482 4182
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/lampang/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่