ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 44' 24.64"
14.7401777777778
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 5' 45.8"
100.096055555556
เลขที่ : 170980
วัดสามชุก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 1743
รายละเอียด
วัดสามชุก สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2300 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปีพุทธศักราช 2481 อยู่ทางทิศเหนือของศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นมาประมาณ 30 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 58 ตารางวา ในทะเบียนสำนักงานศึกษาธิการอำเภอสามชุก ว่าวัดสามชุกสร้าง พ.ศ.2300 เดิมชาวบ้านเรียกกันว่าวัดอัมพวัน ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นวัดสามชุก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2441 ใบวิสุงคามสีมา ระบุเป็นอำเภอนางบวช อำเภอสามชุก ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ.2437 โดยชื่อตอนนั้นว่า อำเภอนางบวช สภาพแวดล้อม • ทิศเหนือ ติดกับที่ดินของประชาชน • ทิศใต้ ติดกับทางสาธารณะ • ทิศตะวันออก ติดกับที่ดินของประชาชน ห่างจากถนนสุพรรณ-ชัยนาท 600 เมตร • ทิศตะวันตก ติดกับแม่น้ำท่าจีน ความเป็นมา ความเป็นมาของคำว่า บ้านสามชุก เล่าสืบกันมาว่า แม่น้ำสุพรรณตอนหนึ่ง ตรงข้ามกับวัดสามชุกฝั่งตะวันตก มีท่าสำหรับชาวบ้านนำโค – กระบือลงน้ำ เป็นท่าใหญ่ เกวียนล้อขึ้นลงได้สะดวก ก่อนเรียกว่า “ท่ายาง” ที่ปากท่าหาดทรายตื้น ฤดูแล้งน้ำแห้งขาดตอนเรือแพสัญจรไปมาไม่สะดวก พวกชาวป่า ลาว กะเหรี่ยง เอาสินค้าบรรทุกเกวียนมาแลกกับชาวเรือ พ่อค้าชาวเรือกับพ่อค้าเกวียนพบกันก็ซื้อขายได้สะดวก ถ้าครั้งใดไม่พบกันฝ่ายที่มาก่อนก็ต้องรอ แล้วขนถ่ายสินค้าลงกองไว้ ส่วนชาวป่าก็นำกระชุก หรือ สีชุก ลงจากเกวียน ใส่สินค้าที่นำมาจากป่าเก็บไว้ในกระชุก • “ท่ายาง” ได้กลายเป็นชุมชนการค้าที่ใหญ่ บรรดาพ่อค้า แม่ค้าต่างก็มาทำการซื้อขายกัน โดยใช้กระชุก เป็นภาชนะใส่ของเก็บสินค้า ทำเลการค้าแห่งนี้ ชาวบ้านละแวกนั้นพากันเรียกว่า “บ้านกระชุก” หรือ สามชุก ในเวลาต่อมา • “บ้านกระชุก” นี้มีผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทันเห็น เล่าสืบกันมาว่า เป็นท่าที่มีเกวียนมาจอดกันเป็นจำนวนมาก ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ตรงข้ามกับวัดสามชุกช่วงใกล้ฤดูฝน มีชาวบ้านบางคนฉวยโอกาสหาเงิน โดยไถนาหว่านข้าว ปิดทางเมื่อเกวียนมาจำเป็นต้องผ่าน ก็ต้องจ่ายเงินค่าผ่านทาง • ส่วนความหมายของคำว่า “สามชุก” ในพจนานุกรมตรงกับคำว่า “กระชุก” ซึ่งหมายถึง ภาชนะสานทรงกรมสูง สำหรับบรรจุของ เช่น นุ่น และถ่าน หรืออีกอย่างหนึ่ง คือ ภาชนะสานรูปฟักผ่า ใช้สอดลงในเกวียน สำหรับใส่ข้าวเปลือก เป็นต้น เมื่อปีพุทธศักราช 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระมหาราชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จทางชลมารคผ่านมาถึงวัดสามชุก ทอดพระเนตรเห็นเรือเวชพาหน์สภากาชาติไทย จอดอยู่ที่แพหน้าวัดสามชุก จึงเสด็จเยี่ยมวัดสามชุก ทรงโปรดให้สภากาชาติไทยจัดการรักษาพยาบาลประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จฯ ทั้งสองพระองค์ฯ เสด็จทอดพระเนตรบริเวณวัด และจะทรงเข้านมัสการพระประธานประจำอุโบสถ แต่กุญแจอยู่กับท่านเจ้าอาวาส ซึ่งไปรอรับเสด็จอยู่ที่ประตูน้ำสามชุก ทั้งสองพระองค์ฯจึงไม่ได้เข้านมัสการพระประธานประจำอุโบสถ แต่ทรงตรัสว่า “อุโบสถลักษณะสวยงาม” ทรงประทับอยู่วัดสามชุกประมาณ 1 ชั่วโมง จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประตูน้ำสามชุก วัตถุโบราณของวัด - พระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานในมณฑป อายุกว่า 500 ปี เป็นของเก่าคู่วัดมานาน ทายกชื่อ ก๋งช่วยเหลือวัดอย่างแข็งแรง ได้นำสร้างมณฑป เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอย ทุกปีจะมีงานปิดทองพระพุทธบาทสี่รอย มีการตามประทีปโคมไฟอย่างสว่างไสว โดยใช้ตะเกียงเจ้าพายุและตะเกียงสมัยโบราณ - พระพุทธรูปหินทราย สมัยอยุธยา ประดิษฐานอยู่มณฑป ปัจจุบันปฏิสังขรณ์และนำมาเป็นประธานประจำศาลาการเปรียญ - หงส์สัมฤทธิ์เก่า 1 คู่ ตั้งอยู่หน้ามณฑป - หลวงพ่อธรรมจักร ศิลปะสมัยอู่ทอง - พระพุทธเจ้าปางทรมานกาย สร้างสมัยรัฐกาลที่ 5 พระยาดำรงราชานุภาพเสด็จประเทศอินเดียชมพระพุทธรูปในอินเดีย ยังไม่ทั่วต้องเสด็จกลับจึงขอให้รัฐบาลอินเดียถ่ายรูปพระพุทธรูปที่สวยที่สุดส่งไปให้ รัฐบาลอินเดียถ่ายรูปพระปางทรมานกาย-ส่งมาถวายทรงเห็นเป็นนิมิตดี จึงร่วมกับพระญาติสร้างพระปางทรมานกายถวายวัดต่างๆ 200 องค์ (หนังสือนิทานโบราณคดี)
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
3 หมู่ที่ 1
หมู่ที่/หมู่บ้าน ถนนสุพรรณ-ชัยนาท
ตำบล สามชุก อำเภอ สามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ 3 หมู่ที่ หมู่ที่/หมู่บ้าน ถนนสุพรรณ-ชัยนาท
ตำบล สามชุก อำเภอ สามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ 035-571108,035-57179
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่