ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 13' 7.1652"
12.218657
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 29' 47.58"
102.49655
เลขที่ : 171110
ฉิ่ง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
จังหวัด : ตราด
2 2797
รายละเอียด

"ฉิ่ง คือเครื่องดนตรีไทยประเภทตีชนิดหนึ่ง ที่มีเล่นกันมาในวงประเภทต่าง ๆ มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ลักษณะสำคัญของฉิ่งคือ ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ฉิ่งสองฝามากระทบกัน และเสียงที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นตัวกำกับจังหวะให้กับเครื่องดนตรีอื่น ๆ
ฉิ่งทำจากทองเหลือง หล่อให้มีความหนาพอประมาณ ขนาดพอดีมือ ลักษณะปากผายกลม ฉิ่ง 1 ชุดประกอบไปด้วย 2 ฝา การตีฉิ่งจะมีสองลักษณะที่ทำให้เกิดเสียงต่างกัน คือการกระทบลงไปตรงๆ เสียงที่ได้จะไม่มีเสียงสะท้อน อีกลักษณะหนึ่งคือ การกระทบกันตรงของของฝาทั้งสอง เสียงที่ได้จะมีเสียงสะท้อนตามมา
ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสาย และวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 – 6.5 ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม.
นายเฟื้อง ใจเที่ยง นักเล่นหนังตะลุงชาวจังหวัดตราด เป็นผู้ครอบครองฉิ่งนี้ไว้ ซึ่งท่านได้เล่าให้ฟังว่า ฉิ่งเป็นส่วนสำคัญในการเล่นและการแสดงพื้นบ้าน ท่านเองก็ได้ใช้ฉิ่งนี้มาตั้งแต่สมัยเริ่มเล่นการแสดงต่าง ๆ มาเป็นเวลานานแล้ว"

คำสำคัญ
ดนตรีไทย ฉิ่ง
สถานที่ตั้ง
อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเฟื้อง ใจเที่ยง
อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่