ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 12° 18' 20"
12.3055555555556
Longitude : E 102° 20' 21"
102.339166666667
No. : 171120
หัวโขนไหว้ครู
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ตราด Date 22 November 2021
Province : Trat
0 3503
Description

หัวโขนไหว้ครู ที่ใช้ในการประกอบพิธีไหว้ครูนั้นไม่ปรากฏหลักฐานถึงความเป็นมาของพิธีไหว้ครูและครอบครูโขน-ละครไทย ว่าสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้มีการกำหนดระเบียบแบบแผน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติโดยการบอกเล่าต่อๆกันมาเป็นมุขปาฐะ ตำราพิธีไหว้ครู และครอบโขน - ละครของไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ สมุดไทยมีจำนวน 3 เล่ม แต่คงเหลือเพียงเล่ม 2 เล่มเดียว ส่วนเล่ม 1 และเล่ม 3 หายไป ซึ่งเข้าใจว่ามีนักปราชญ์รวบรวมชำระทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นพิธีไหว้ครูโขน - ละคร ฉบับหลวง ในรัชกาลที่ 4 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง คือ สมุดไทยเล่ม 2 ที่หลงเหลือมาจากฉบับแรก ได้ตีพิมพ์ใช้เป็นแบบฉบับของการทำพิธีไหว้ครูโขน - ละครในสมัยรัชกาลที่ 6 ในการจัดพิธีไหว้ครูโขน - ละคร จะเห็นได้ว่าในพิธีจะมีหัวโขนหรือศีรษะครูที่เป็นเสมือนตัวแทนของครูแต่ละองค์ นำมาตั้งประกอบในพิธีมากมายตามโอกาสและความพร้อมของผู้จัด ในเรื่องของประวัติเทพเจ้าที่เกี่ยวข้อง ลักษณะที่สำคัญ ตลอดทั้งความสำคัญของหัวโขนเทพเจ้าที่พอจะนำมาเป็นตัวอย่าง ได้แก่ - หัวโขนพระอิศวร แทนองค์พระอิศวร เป็นเทพเจ้าผู้ทำลายล้าง - หัวโขนพระนารายณ์ แทนองค์พระนารายณ์ เป็นเทพเจ้าผู้บริหาร และรักษาโลก - หัวโขนพระพรหม แทนองค์พระพรหม เป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก - หัวโขนพระอินทร์ แทนองค์พระอินทร์ เทพเจ้าผู้คอยช่วยเหลือคนดี - หัวโขนพระพิฆคเณศ แทนองค์พระพิฆคเณศ เทพเจ้าแห่งความรู้ สติปัญญา และศิลปศาสตร์ - หัวโขนพระวิสสุกรรม แทนองค์พระวิสสุกรรม เทพเจ้าแห่งการช่าง และการก่อสร้าง - หัวโขนพระปรคนธรรพ แทนองค์พระปรคนธรรพ เป็นครูทางปี่พาทย์ หัวโขนพระปัญจสีขร แทนองค์พระปัญจสีขร เป็นครูทางด้านดนตรี - หัวโขนพระพิราพ แทนองค์พระพิราพ เป็นเทพแห่งการประสบโชค และความตาย ศิลปินโขน - ละครไทย ให้ความเคารพในฐานะเป็นครูในวิชาดุริยางคศาสตร์ และนาฏศิลป์ - หัวโขนพระฤาษีกไลโกฎ พระภรตฤาษี พระฤาษีตาสัส พระฤาษีตาไฟ แทนองค์พระฤาษีกไลโกฎ พระภรตฤาษี พระฤาษีตาสัส พระฤาษีตาไฟ เป็นครูทางด้านการฟ้อนรำ ที่ศิลปินมักกล่าวถึงเสมอโดยเฉพาะพระภรตฤาษี สาระสำคัญวัตถุประสงค์ของการไหว้ครู คือการแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์ และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า โดยกลุ่มคนที่ศึกษาศิลปะวิทยาการต่างๆต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนศิลปะการดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ ซึ่งการจัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก 1 วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน 9 เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน

Location
วัดท่าโสม หมู่ 1
Moo ท่าโสม
Tambon ท่าโสม Amphoe Khao Saming Province Trat
Details of access
No. วัดท่าโสม Moo ท่าโสม
Tambon ท่าโสม Amphoe Khao Saming Province Trat
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่