ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 171131
ชาวมุสลิม บ้านน้ำเชี่ยว
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564
จังหวัด :
0 1399
รายละเอียด

ชาวมุสลิมบ้านน้ำเชี่ยว เป็นชาวไทยเชื้อสายจาม ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ดังนี้ เชื้อสายจาม จึงเป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในตระกูลมาลาโย-โพลินีเชียนหรือชนชาติมลายู ซึ่งเป็นอาณาจักรที่อยู่ระหว่างญวนกับเขมร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจึง เรียกกันว่า “ แขกจาม ” มีภาษาพูดที่สื่อสารกันคือ ภาษามลายู ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาออสโตรนีเชียน โดยเข้ามาในประเทศไทยด้วยสาเหตุต่าง ๆ ในช่วงหลังจากเสียกรุงวิชัย เมืองหลวงของจามปา คือ ชาวจามกลุ่มแรก มีหลักฐานปรากฏช่วงตอนต้นกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 1991 จากการอพยพมาจากตอนเหนือของลาวและเวียดนาม หรือ อาจจะมาจากเกาะบอร์เนียว เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองชุมพร ก่อนปี พ.ศ. 1997 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ชาวจาม เป็นทหารชั้นดีที่ราชสำนักอยุธยาใช้ในการรบ การเดินเรือ และการค้าทางทะเล หรือการขยายอาณานิคมของอาณาจักรอยุธยาลงทางใต้ ต่อมาชาวจามเข้าตีเมืองชุมพร จากราชอาณาจักรนครศรีธรรมราชได้ จึงได้ปกครองดินแดนแทบนี้ ( เมืองชุมพร เมืองไชยา คอคอดกระ) และกวาดต้อนชาวเมืองพงสาลี และชาวเมืองแถง (เดียนเบียนฟู) มาเป็นพลเมือง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประกอบกับเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญตั้งแต่นั้นมา ต่อมาในช่วงรัชกาลที่3 ระหว่าง พ.ศ. 2330-2394 ชาวจามหรือแขกจามที่นับถือศาสนาอิสลามได้ถูกกวาดต้อนออกมาจากกัมพูชาเข้ามาในสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 ซึ่งเป็นช่วงที่ญวนทำสงครามกับเขมร จึงได้เข้ามาอยู่ครั้งแรกที่ ตำบลน้ำเชี่ยว เพียงแห่งเดียว ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการอพยพหนีการบีบบังคับทางด้านศาสนาของฝรั่งเศส ที่ยึดเมืองเขมรในขณะนั้น ในสมัยต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 แขกจามกลุ่มนี้จึงเดินทางด้วยเรือ แล้วแยกไปตั้งถิ่นฐานเป็นสามแห่ง กลุ่มที่หนึ่ง เดินทางลัดเลาะชายฝั่งจนถึงบริเวณปากอ่าวลำคลองท่าตะเภาและปากอ่าวคลองน้ำเชี่ยว แยกเข้าสู่คลองน้ำเชี่ยว ได้แก่ชาวไทยมุสลิม ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบในปัจจุบัน กลุ่มที่สอง เดินทางไปจนถึงปากน้ำ จังหวัดระยอง แล้วขึ้นที่ระยอง กลุ่มที่สาม ล่องเรือไปถึงกรุงเทพ ฯ กลุ่มนี้ รัชกาลที่ 5 ทรงทราบ โปรดให้จัดที่พระราชทานให้อยู่ที่บ้านครัว โดยรวมกับชาวจามที่มีอยู่แล้ว เรียกว่า กลุ่มบ้านครัว หรือ แขกบ้านครัว ในปัจจุบันนี้ ชาวมุสลิมน้ำเชี่ยว ส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง มีการจัดกิจกรรมร่วมกับเยาวชน ดูแลชุมชนให้สะอาด การป้องกันยาเสพติดอิหม่ามจะดูแลลูกบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และชาวไทยพุทธ ผู้ติดสารเสพติดจะได้รับการบำบัด มีการอนุรักษ์การละเล่นฟ้อนรำ และการกีฬาให้เยาวชนได้สืบทอดต่อไป

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านน้ำเชี่ยว
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านน้ำเชี่ยว
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่