ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 28' 38.6677"
6.4774077
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 8' 7.0534"
101.1352926
เลขที่ : 173047
งานจักสานจากวัสดุ
เสนอโดย ยะลา วันที่ 13 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 13 ธันวาคม 2555
จังหวัด : ยะลา
0 1792
รายละเอียด

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางรอซียะห์ แสแลแม อายุ ๔๔ ปี

ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ ๘๙/๑ หมู่ ๗ บ้านบาโด ตำบล ยะหา อำเภอ ยะหา จังหวัดยะลาการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ปี่ ๓ สัญชาติ ไทย ศาสนา อิสลาม

หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๔-๙๖๕๘๑๗๔

ความเชียวชาญเฉพาะด้านภูมิปัญญา ด้านการจักสาน กระเช้า ตะกร้า แจกัน ด้วยวัสดุกระดาษหนังสือพิมพ์

ผลงานและความภาคภูมิใจ

ปัจจุบันเป็นภูมิปัญญาสอนและอบรมเรื่องการทำจักสานจากกระดาษหนังสือพิมพ์ให้กับสถานศึกษา

ความสำคัญต่องานวัฒนธรรม

จักสานวัสดุจากกระดาษหนังสือพิมพ์เป็นผลผลิตจากการนำกระดาษที่เหลือใช้แล้วมาสานเป็นตะกร้า รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ดัดแปลงมาจากการสานตะกร้าจากเถาวัลย์หรือใบเตยหนามในอดีต ซึ่งปัจจุบันหาได้ยากในท้องถิ่น ตะกร้าที่ทำจากกระดาษเหลือใช้อย่างหนังสือพิมพ์มีความคงทนสวยงามแปลกตา จึงได้รับความนิยมจากประชาชนในท้องถิ่นอย่างมาก ในพื้นที่นิยมใช้ในการจัดตะกร้าสวยๆที่ใช้ในงานแต่งหรืองานบุญต่างๆ

นางรอซียะห์ แสแลแมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลยะหา ที่มีใจรักในงานฝีมือและงานจักสาน หลังจากที่ได้ไปประเทศมาเลเซียและได้เห็นคนมามาเลเซียประดิษฐ์งานจักสานที่ใช้ภายในบ้าน จึงเกิดความคิดที่จะประดิษฐ์บ้างโดยได้มีการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับการสานตะกร้าจากมาเลเซียแล้วนำกลับมาพัฒนาให้เป็นฝีมือของตนเอง จนได้รับความสนใจจากคนในพื้นที่ และหน่วยงานต่างๆ จนไม่สามารถผลิตให้ทันต่อความต้องการได้ ปัจจุบันมีสมาชิกเพียง ๕ คน ทำกันเองภายในบ้าน เป็นระยะเวลา ๓ ปี และมีความคิดว่าอยากจะขยายกลุ่มแต่ก็ยังต้องได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานต่างๆ

วัสดุ - อุปกรณ์

๑. กระดาษหนังสือ

๒. กาว

๓. ลวดเบอร์ ๑๘ , ๒๒, ๒๔

๔. สีน้ำมัน

๕. กรรไกรตัดกระดาษหรือ

มีดคัตเตอร์

๖. ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด

๗. แปรงทาสี

๘. คีมตัดลวด ค้อนขนาดเล็ก

๙. ก้านมะพร้าว

การม้วนกระดาษ

๑. ตัดกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว ออกเป็น ๓ ขนาด คือ

- ขนาดเส้นเล็ก ตัดกว้าง ๕ ซ.ม.

- ขนาดเส้นกลาง ตัดกว้าง ๘ ซ.ม.

- ขนาดเส้นใหญ่ ตัดกว้าง ๑๐ ซ.ม.

ความยาวเท่าหน้ากระดาษ

๒. การม้วนกระดาษ

๒.๑ ใช้ก้านมะพร้าวเหลาให้เรียบเหมือนทำก้านดอกไม้ โดยใช้ส่วนโคนของก้านมะพร้าวความยาวเท่ากับกระดาษที่ตัด

๒.๒ เอาก้านมะพร้าวเป็นแกนนำ ม้วนกระดาษทางมุมบนขวามือให้แนบกับก้านมะพร้าว ใช้มือขวาและมือซ้ายค่อย ๆ ม้วนในลักษณะเอียง ม้วนไปตามความยาวของกระดาษ

๒.๓ ม้วนกระดาษ โดยอย่าให้กระดาษคลายตัว ม้วนจากขวาไปซ้ายจนได้ขนาดตามที่ต้องการ ดึงก้านมะพร้าวออกจะได้รูกว้างประมาณ ๑– ๒ ม.ม. และมีปลายแหลม ดังนี้

- ขนาดเส้นเล็ก ปลายแหลมประมาณ ๑ ซ.ม.

- ขนาดเส้นกลาง ปลายแหลมประมาณ ๑.๕ ซ.ม.

- ขนาดเส้นใหญ่ ปลายแหลมประมาณ ๒ ซ.ม.

๓. การสอดลวด ขนาดของลวดที่ใช้มี ๓ ขนาด คือ

- ขนาดเส้นเล็กใช้ลวดเบอร์ ๒๔

- ขนาดเส้นกลางและเส้นใหญ่ใช้ลวดเบอร์ ๒๒

- ขนาดเส้นใหญ่ทำเฉพาะหูหิ้วใช้ลวดเบอร์ ๑๘

๔. การต่อกระดาษ

วิธีการสาน

๑. ทำเส้นตั้ง ๘ เส้นหาจุดกึ่งกลาง นำมาวางเรียงกากบาททากาวทิ้งไว้ให้แห้ง

๒. นำเส้นสาน ๒ เส้น ทากาวติดทิ้งไว้ให้แห้ง

๓. สานขัดเส้นที่ ๑ ยก ข่ม สลับกันไป เส้นที่ ๒ ยก ข่ม สลับกันไป แต่ละเส้นสานจนครบ ๑ รอบ และสานขัดไปเรื่อย ๆ จนได้ขนาดของก้นตะกร้า

๔. แยกเส้นตั้งออกเป็นแฉก ๆ สานหักเส้นตั้งเอียงขึ้น สานขัดให้ได้ความสูงตามที่ต้องการ

๕. หักเส้นตั้งขัดเป็นขอบเมื่อสานเสร็จ

๖. การทำหูหิ้ว นำกระดาษม้วนมาพันให้รอบกระดาษม้วนที่สอดลวดเตรียมไว้เพื่อทำเป็น หูหิ้วโดยวิธีพันให้เป็นเกลียวแน่น แล้วนำไปทากาวเสียบ ๒ ข้างของตะกร้า

๗. ทาสีน้ำมันให้สวยงาม

๘. เพียงเท่านี้ ก็จะได้ตะกร้าสวย ๆ ไว้ใช้ใส่สิ่งของแล้ว

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 89/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 7 บ้านบาโด
ตำบล ยะหา อำเภอ ยะหา จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางรอซียะห์ แสแลแม
บุคคลอ้างอิง นางสาวกนกวรรณ พรหมทัศน์ อีเมล์ k-yala@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511,073213916
เว็บไซต์ ้http://povince.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่