ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 13' 11.6458"
18.2199016
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 10' 44.8205"
103.1791168
เลขที่ : 173183
ข้าวจี่
เสนอโดย boonnoon วันที่ 13 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย หนองคาย วันที่ 7 มีนาคม 2557
จังหวัด : หนองคาย
0 2659
รายละเอียด

“ข้าวจี่” คือข้าวเหนียวปั้นกลมบ้าง รีบ้าง หรือบาง

ทีก็ปั้นเป็นก้อนกลมรีมีไม้เสียบตรงกลาง โรยเกลือนำมาปิ้งบนถ่านไฟ ชุบไข่ไก่ แล้วนำไปย่างอีกรอบ เป็นอาหารที่นิยมกินในฤดูหนาว เพราะคนสมัยก่อนจะนิยมนั่งผิงไฟคุยกัน แล้วก็ทำข้าวจี่กินแก้หนาวไปด้วย อีกอย่างช่วงนี้เป็นฤดูหลังเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวใหม่จะมีกลิ่นหอมและนุ่ม จึงเหมาะที่จะนำมาทำข้าวจี่กินกันเป็นอย่างมาก

แต่บ้างก็ว่า เป็นเพราะชาวอีสานชอบเดินทางไกลหลังฤดูทำนา จึงต้องเตรียมอาหารเก็บไว้กินนานๆ ซึ่งนั่นก็คือข้าวจี่ และเมื่อทำมากพอสมควรก็จะนำไปถวายพระ จนกลายเป็นประเพณีทำบุญข้าวจี่

“เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่
ข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา”

( “ปลายเดือนสาม พระสงฆ์จะคอยชาวบ้านทำบุญถวายข้าวจี่ถ้าข้าวจี่ไม่ทาน้ำอ้อย สามเณรน้อยจะร้องไห้ ” )

เป็นคำผญาที่บ่งบอกว่า ในสมัยโบราณข้าวจี่ถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำหรับคนอีสานมาก ดังจะเห็นได้จากพิธี “บุญเดือนสาม” ใน“ฮีตสิบสอง” ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวอีสานจะทำข้าวจี่ไปถวายพระที่วัด หรือที่เรียกว่า “บุญข้าวจี่” ซึ่งเป็นประเพณีงานบุญเดือนสามของชาวอีสานที่ทำร่วมกันในชุมชน การทำข้าวจี่ของคนสมัยก่อนนี้ชาวบ้านจะปั้นข้าวเหนียวนึ่งสุกให้มีขนาดเท่าไข่ห่านหรือเท่ากำมือ โรยเกลือ แล้วใช้ไม้ไผ่เสียบเป็นแถวประมาณ 5-8 ก้อนต่อไม้ จากนั้นนำไปปิ้งบนเตาถ่านพร้อมพลิกกลับไปกลับมาจนข้าวเหนียวสุกเหลืองเสมอกัน แล้วนำไข่ไก่ที่ตีแล้วมาทาให้ทั่วก้อนข้าวหลายๆ ครั้งเพื่อให้ไข่ติดข้าว แล้วนำไปปิ้งบนเตาถ่านจนไข่สุกเหลืองส่งกลิ่นหอม นำข้าวที่สุกแล้วมาถอดออกจากไม้เสียบ นำก้อนน้ำอ้อยมายัดใส่ในรูไม้เสียบ เป็นอันเสร็จ ซึ่งจะเห็นว่าแตกต่างจากข้าวจี่ในปัจจุบัน ซึ่งเรามักจะเห็นแต่ข้าวจี่ทาไข่, ข้าวจี่โรยเกลือ และที่จังหวัดหนองคาย บางเจ้าก็นิยมโรยด้วยน้ำปลาร้า

ในการทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านจะทำเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำเพื่อใส่บาตรเท่านั้น แต่จะทำเพื่อแจกจ่ายผู้คนหรือแลกเปลี่ยนกัน เมื่อได้ข้าวจี่แล้ว ชาวบ้านจะนำมารวมกันที่วัดพร้อมกับนิมนต์พระภิกษุสามเณรมารับบิณฑบาต ชาวบ้านจะนำข้าวจี่มาใส่บาตรพร้อมกัน เมื่อถวายภัตตาหารและข้าวจี่เรียบร้อยแล้ว พระภิกษุจะเทศน์ อานิสงส์บุญข้าวจี่ 1 กัณฑ์เพื่อเป็นการอธิบายให้เห็นว่า การทำบุญด้วยข้าวจี่นั้นได้อานิสงส์มากเช่นเดียวกับการทำบุญด้วยวิธีอื่น ส่วนตอนบ่ายจะมีการเทศน์นิทานชาดก โดยส่วนใหญ่จะเป็นนิทานพื้นบ้านทางภาคอีสาน เช่น ท้าวก่ำกาดำ, จำปาสี่ต้น ฯลฯ

สถานที่ตั้ง
ข้าวจี่จังหวัดหนองคาย
อำเภอ รัตนวาปี จังหวัด หนองคาย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางฐิตาวรีย์ อินทร์ตาแสง
บุคคลอ้างอิง รัตนวาปี หนองคาย อีเมล์ mesa_001@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่