ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 175878
ประวัติอำเภอลำลูกกา
เสนอโดย lamlukka วันที่ 10 มกราคม 2556
อนุมัติโดย mculture วันที่ 29 มีนาคม 2559
จังหวัด : ปทุมธานี
0 723
รายละเอียด

ประวัติอำเภอลำลูกกา

สมัยก่อนอำเภอลำลูกกา เป็นที่ราบลุ่มเต็มไปด้วยป่าพงป่าอ้อ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วไป สภาพของพื้นที่รกร้างกว้างใหญ่ มีชื่อเรียกว่า “ทุ่งหลวง” ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประมาณปี พ.ศ.2433 พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าทุ่งหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก ควรให้ประชาชนเข้ามาอยู่อาศัย ทำมาหากิน ประกอบกับมีพระราชดำริว่า กรุงสยามมีคลองเป็นสำคัญ สมควรต้องขุดทุกปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเก้าฯ ให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ดำเนินการขุดคลองหกวา เริ่มจากคลองซอยที่ ๒ ไปจนถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะทาง 900 เส้นเศษ และขุดคลองซอยเป็นระยะห่างกัน 60 เส้น จำนวน 16 คลอง ผลจากการขุดคลองนี้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นกันดารต่างอพยพหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยทำการเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น

สำหรับชื่ออำเภอลำลูกกานี้ตามประวัติเล่าว่า แต่เดิมในท้องที่อำเภอนี้มีลำธารไหลผ่านมาบรรจบเป็นรูปตีนกา และปรากฏว่ามีนกกามาอาศัยทำรังอยู่จำนวนมาก เพราะที่รวมของลำธารนี้อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยกุ้ง ปลา อาหารของสัตว์นานาชนิด ประชาชนจึงเรียกบึงนี้ว่า “บึงลำลูกกา”ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นใกล้กับบึงนี้เมื่อประมาณ พ.ศ.2447 จึงขนานนามว่า “อำเภอลำลูกกา”สันนิษฐานว่า ชื่อตามสถานที่ตั้งและนิยมใช้คำสั้น ๆ

คำสำคัญ
อำเภอลำลูกกา
หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ตำบล ลำลูกกา อำเภอ ลำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี ( ศาลากลางหลังเก่า )
บุคคลอ้างอิง นางสาวชวนชม แย้มไสว อีเมล์ meaw2555@outlook.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด อีเมล์ data55@hotmail.com
ถนน เทศปทุม
ตำบล บางปรอก อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 025811237 โทรสาร 025934406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่