ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 47' 15.8777"
18.7877438
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 47' 4.4059"
100.7845572
เลขที่ : 176849
จ้อย เมืองน่าน
เสนอโดย นางพูนศรี วันที่ 22 มกราคม 2556
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : น่าน
0 555
รายละเอียด

ความเป็นมา/ความสำคัญ
จ้อย เป็นทำนองพูดเกี้ยวพาราสีที่มีความหมายไพเราะเพราะพริ้ง ฟังแล้วคล้ายกับการร้องเพลงที่มีสัมผัสคล้องจองกัน ลักษณะคล้ายร่ายยาว ส่วนมากผู้ที่จ้อยจะเป็นผู้ชายมักจะจ้อยในตอนกลางคืนซึ่งเข้ากับบรรยากาศที่เงียบสงบ จะได้ยินเสียงหนุ่มที่จ้อยผ่านบ้านสาวอย่างชัดเจน เมื่อหนุ่ม (บ่าว) จ้อยผ่านบ้านสาวเหมือนกับเป็นการร้องเรียกให้หญิงสาวออกมาต้อนรับเชื้อเชิญให้ขึ้นบ้าน

จ้อย ตามข้อสันนิฐานของนางขันแก้ว สงคราม ว่าเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๖ ครั้งเมื่อย้ายเมืองปัวมาอยู่เมืองน่าน สมัยพระยากานเมืองมาสร้างเมืองน่านที่ดอยภูเพียงแช่แห้งสมัยนั้นยังไม่มีการคมนาคมทางบก ต้องให้แพล่องน้ำน่านมา ในขบวนตามเสด็จมีแม่ม่ายชื่อ นางคำบี้ ได้จ้อยชมธรรมชาติทั้งสองข้างที่ล่องแพมานั้น

ประเภทการจ๊อย
การจ๊อยมี ๒ ประเภท คือ
๑. จ๊อยก้อมหมายถึงการจ๊อยสั้น ๆ เป็นบทเกี้ยวผู้หญิงให้เห็นอกเห็นใจ จ๊อยก้อมนี้สมัยโบราณหนุ่มเมื่อไปเที่ยวสาว (บ่าวแอ่วสาว) จะดีดปิน (ซึง) พร้อมกับขับบทจ๊อยไปตามถนนที่ผ่านหน้าบ้านสาวที่ตนพึงใจ เช่น “เดิ้กมาส้อยล้อย น้ำย้อยต๋องแต๋ง ลุกเต๊อะสาวเอย บ่าวมาแอ่วอู้”

๒. จ๊อยเรื่องหมายถึง การจ๊อยเป็นเรื่องเป็นราวยาว ๆ ซึ่งแต่งกันแล้วก็มีนักจ๊อยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือ นางขันแก้ว สงคราม

คำสำคัญ
ประเพณี
สถานที่ตั้ง
อำเภอเมืองน่าน
ตำบล ในเวียง อำเภอ เมืองน่าน จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางพูนศรี เกียรติกำจาย อีเมล์ punsri2555@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน อีเมล์ nan-culture@hotmail.com
ถนน ผากอง
ตำบล ในเวียง อำเภอ เมืองน่าน จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55000
โทรศัพท์ 054711650 ต่อ 13 โทรสาร 054711650 ต่อ 13
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่