บ้านศาลาลอยหมู่ ๗,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๒,๑๓ ตำบลศาลาลอย อำเภอท่าเรือ มีวัดศาลาลอยเป็นชื่อสัญญลักษณ์ของตำบล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาส่วนใหญ่
ประวัติความเป็นมาตามตำนานเล่าขานกันมาแต่โยราณมีชิ่อว่า "ศิลาลอย" แต่มาภายหลังมาเพี้ยนเป็น "ศาลาลอย" คือมีแผ่นศิลาขนาดใหญ่ทรงกลมคล้ายวงพระจันทร์ คล้ายธรรมจักร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร หนา ๓๐ เซนติเมตร ลอยมาในแม่น้ำป่าสัก มาถึงบริเวณวัดศาลาลอย (ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นวังน้ำวน หินรูปธรรมจักรนั้นลอยขึ้นลงตามกระแสน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ศิลาลอย" ต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป้นว่า "ศาลาลอย"ชาวบ้านจึงอัญเชิญประดิษฐานอยู่ในท้องที่ตำบลศาลาลอย ริมฝั่งของแม่น้ำป่าสัก เนื่องจากตรงบริเวณนั้นเป็นทางโค้งรับกระแสน้้ำ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากกระแสน้ำจะไหลเชี่ยวกรากเข้าหาทุกๆปี ทำให้แผ่นศิลาดังกล่าว ได้ถูกน้ำท่วมพัดพาลอยตามกระแสน้ำเรื่อยๆมาจนถึงตำบลโพธิ์เอน ชาวบ้านได้เอาเชือกพาน (คล้องลักษณะจะผูกให้อยู่) กับต้นโพธิ์ที่ขึ้นอยู๋ริมฝั่งแม่น้ำ แต่ก็ไม่สามารถทานน้ำหนักไหว ทำให้ต้นโพธิ์เอนเอียง (ภายหลังตรงตำบลนั้นมีชื่อว่า "ตำบลโพธิ์เอน") ชาวบ้านจึงปล่อยให้ลอยตามกระแสน้ำต่อไปจนถึงอำเภอนครหลวงพวกชาวบ้านและพระเกจิอาจารย์ ได้นำสายสิญจน์มาผุกแผ่นศิลาแล้วจุดธูปอธิษฐาน ขอให้แผ่นศิลาสถิตย์อยู่ที่แห่งนั้น ด้วยความมหัศจรรย์แผ่นศิลานั้นก็หยุดลอยวนอยู่ตรงหน้าวัดเทพจันทร์ อำเภอนครหลวง ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดเทพจันทร์ ต่อมาพระครูวิหารกิจจานุการ (ปลื้ม) สร้างพระวิหารเพื่อประดิษฐานแผ่นศิลาดังกล่าวและได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วัดนครหลวงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ จนถึงปัจจุบันและมีชื่อว่า "พระจันทร์ลอย" อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของวัดนครหลวง.