ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 0' 32.985"
15.0091625
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 47' 4.547"
104.7845964
เลขที่ : 177924
ลาบปูนา
เสนอโดย waiphod วันที่ 29 มกราคม 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1420
รายละเอียด

ลาบปูนา เป็นเมนูอาหารอีสานขนานแท้จริง ๆ จึงจะรู้จักอาหารชนิดนี้ เพราะหลายคนอาจจะถามว่า ปูนาเอามาทำลาบได้ด้วยเหรอ ปูนาที่จะนำมาปรุงอาหารประเภทนี้จะต้องเป็นปูที่ขุดรูอยู่ หรือปูหน้าแล้งนั่นเอง เพราะว่าปูในช่วงดังกล่าวจะมีมันปูมากซึ่งถูกเก็บสะสมไว้ในลำตัวของปูเพื่อใช้เป็นอาหารในช่วงที่เข้าอยู่ในรูรอจนกว่าถึงฤดูฝนจึงจะออกมาวางไข่อีกครั้ง ทีนี้มาดูสูตรและก็วิธีทำลาบปูกันดีกว่าซึ่งเป็นสูตรของชาวอีสานแท้ ๆ ว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

ส่วนประกอบ ปูนา , หอมแดง, ตะไคร้ซอย, ข้าวคั่ว, พริกป่น , น้ำปลา , มะนาว , ผักชีฝรั่ง ,ใบสะระแหน่

ขั้นตอนการทำ เอาปูมาแกะฝาออกแล้วควักเอามันปูและเนื้อออกมา ส่วนที่เหลืออยากเพิ่งทิ้งนำไปตำให้ละเอียดแล้วใส่น้ำลงไป นำมากรองด้วยผ้าขาวหรือตะแกรงกรองเอาเฉพาะน้ำ หลังจากนั้นตั้งไฟพอน้ำร้อนเทมันปูที่ได้ลงไป แล้วส่วนน้ำมันปูที่ได้จากการกรองเราจะไม่เท่ลงไปหมดโดยให้ค่อยเทเอาเฉพาะส่วนบน ที่เหลือก้นๆถ้วยจะทิ้งไปเนื่องจากอาจมีตะกอนของเปลือกปูหรือดินที่ผ่านการกรองติดมาด้วย

จากนั้นเคี่ยวจนข้นๆ ตามความต้องการ บีบน้ำมะนาวใส่ลงไป ตามด้วยพริกป่น ข้าวคั่ว น้ำปลา หอมแดงซอย ตะใครซอย ผักชีฝรั่งซอย และใบสะระแหน่ ปรุงรสด้วยผงชูรส ลองชิมดูได้ที่ก็เป็นอันว่าเสร็จแล้วครับ สำหรับเมนู ลาบกะปู สุดอร่อย

คำสำคัญ
ลาบปูนา
สถานที่ตั้ง
บ้านบูรพา
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๙ ซอย - ถนน -
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมตำบลสำโรง
บุคคลอ้างอิง นายไวพจน์ อ่อนวรรณะ อีเมล์ waiphod@yahoo.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสำโรง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 9 ซอย - ถนน พระภิบาล
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34360
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่