กลองสะบัดชัย
เป็นกลองที่ใช้สำหรับพิธีออกศึกแต่โบราณ คล้ายกลองกบ(จูกัดเหลียงไก๊) กลองขงเบ้ง ที่ขุดได้ในเมืองหนองหล่ม จะตีเป็นจังหวะ ของแต่ละชนเผ่า บอกให้ปีกซ้ายขวา หรือกองหน้า เข้าตีแบบไหน หรือล่าถอย ซึ่งจะเป็นรหัสเฉพาะ รู้กันในหมู่กองของตัวเองเท่านั้น
แหล่งปรากฏการแสดงนั้นๆ
ในอดีตส่วนมากแสดงในวัด แต่ในปัจจุบัน จะมีทั่วไป
ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง
เป็นเครื่องดนตรีที่แสดงถึงชัยชนะ จึงเรียกว่าสะบัดชัย
โอกาสที่เล่นหรือแสดง
งานประเพณีต่างๆ งานเลี้ยงต้อนรับ เปิดงานมหกรรมต่างๆ และแสดงในงานปอยหลวงประเพณี จนถึงใช้แข่งขัน แสดงลีลาท่าทางประกอบ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง
กลองสะบัดชัย ฉาบ ๓-๔ ตัว ฆ้อง ๔-๕ อัน
ท่ารำที่ใช้ในการแสดง
ท่าการเต้นตามจังหวะเสียงกลองของผู้ชาย และผู้หญิง เป็นการเต้นที่มีลีลาเข้มแข็ง ต่อสู้ ตบบ่าผาบ และเต้นเป็นจังหวะท่าทางที่ประดิษฐ์ เช่นการออกหาปลา การไล่จับปลา จับปลา หักหัวปลา สับปลา แกงปลา ซดน้ำแกงปลา แกล้มเหล้า เมาเหล้า ฯ และมีการผสมผสานการรำสาวไหม แต่เป็นการฟ้อนรำสาวไหมที่มีลีลาจังหวะสนุกสนาน
การรำดาบ ควงกระบองไฟ การรำธง
การเปลี่ยนแปลงหรือสภาพในปัจจุบัน
มีการสอนกันในโรงเรียน ในกลุ่มหนุ่มสาว เพราะเป็นลีลาที่สนุกเร้าใจ
ลำดับขั้นตอนในการบรรเลง
จะมีการเตรียมตัว เครื่องมือ อุปกรณ์ดาบ กระบอง น้ำมันก๊าส คน มากมาย