ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 25' 38.5183"
18.4273662
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 57' 27.6296"
98.9576749
เลขที่ : 178096
ผักหวาน
เสนอโดย tippawan_mat วันที่ 30 มกราคม 2556
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : ลำพูน
0 932
รายละเอียด

ผักหวานป่าในอำเภอแม่ทา ระหว่างเดือนมกราคม จะมีผักที่ขึ้นชื่อเป็นผักที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน คือ ผักหวานป่า แทบทุกหลังคาเรือนจะมีปลูกไว้กินและที่เหลือก็จะเก็บขายสร้างรายได้เพิ่ม ผักหวานป่าชาวบ้านนิยมนำมาแกงใส่ไข่มดแดง ที่มีอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ทาซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ผักหวานป่าให้ทั้งรสชาติที่อร่อย ให้คุณค่าทางอาหารมากมาย

ผักหวานป่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าMelientha suavisPierre จัดอยู่ในวงศ์ Opiliaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และฟิลิปินส์ โดยมีชื่อเรียกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น คือลาว เรียกว่า hvaan เวียดนามเรียก rau กัมพูชาเรียกdaam prec มาเลเซียเรียก tangal และฟิลิปินส์เรียก malatado ในประเทศไทยพบมากที่ภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ ลำพูน ตาก เชียงราย ลำปาง ภาคอีสานที่อุดรธานี นครพนม สกลนคร นครราชสีมา ภาคกลางพบมากที่กาญจนบุรี สระบุรี ภาคใต้ ที่สุราษฎร์ธานี กระบี่ เป็นต้น ในธรรมชาติมักจะพบผักหวานป่าขึ้นในที่เนินสูง ในป่าเบญจพรรณผสมไผ่(แถบกาญจนบุรี)และป่าเต็งรังที่ระดับความสูงตั้งแต่ 300-900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางผักหวานป่าเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาของไม้อื่น
เพราะต้องการแสงรำไรจึงเจริญเติบโตได้ดีในธรรมชาติ
การแพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติเรามักจะพบผักหวานป่าในป่าเกือบทุกชนิดผักหวานป่าจะออกดอก
ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม และออกผลประมาณเดือนกุมภาพันธ์ผลแก่และสุกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผักหวานป่าเป็นพืชที่แยกเพศชัดเจนมีทั้งที่เป็นต้นเพศผู้และเพศเมีย โดยมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น (dioecious)การผสมเกสรอาศัยแมลงตามธรรมชาติ ส่วนการกระจายเมล็ดพันธุ์อาศัยสัตว์ป่าเป็นผู้นำพา และน้ำยังเป็นตัวนำพาได้ดีเมื่อผลสุกร่วงหล่นลงจะถูกน้ำพัดพาไปในที่ต่างๆ เมื่อเมล็ดเจอที่ที่มีความเหมาะก็จะงอกและเจริญเติบโตต่อไป
ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร

พันธุ์ผักหวานป่า

ผักหวานป่า จากการสังเกตสามารถจำแนกออกได้ 2 สายพันธุ์ คือ
1.พันธุ์ยอดเหลือง จะเจริญเติบโตค่อนข้างช้ากว่าพันธุ์ยอดเขียว
2.พันธุ์ยอดเขียว จะมีการเจริญเติบโตดีกว่าและเร็วกว่าพันธุ์ยอดเหลือง
ทั้ง 2 สายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ทั้งทรงพุ่ม กิ่ง และแขนงใบ หากไม่สังเกตดีๆหากมีการเก็บยอดผักหวานป่ามาวางปนกันก็ไม่สามารถแยกได้เพราะแทบไม่มีข้อแตกต่างมากนัก

ดอกผักหวานป่า มีลักษณะเป็นช่อ ออกตามกิ่ง ลำต้น และรากที่โผล่พ้นดิน ช่อดอกยาวประมาณ15-20 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กอัดกันแน่นเป็นกระจุกขณะที่ยังอ่อน ดอกตัวผู้ไม่มีก้านดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก ก้านเกสรตัวผู้สั้นมาก เกือบติดฐานของ tepal อับเกสรตัวผู้ค่อนข้างใหญ่ ดอกตัวเมียก้านดอกยาวประมาณ 3-7 มม. มักจะเกิดดอกเดี่ยว แต่บางครั้งอาจจะพบเป็นกลุ่มประมาณ 3-4 ดอก การผสมเกสรของผักหวานป่าเป็นการผสมข้ามต้น เพราะดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่กันคนละต้น

คุณค่าทางอาหาร

ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควรช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มก. วิตามินซี 115 มก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ) อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้ การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้วอาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้เช่นกัน
ประโยชน์
ผักหวานป่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผักจะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็นสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย พบว่าผักหวานป่าจัดเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อนแก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหารมีรสหวานกรอบช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำและระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้ ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่าทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณ

ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวานต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนในแก้น้ำดีพิการและแก้ปวดมดลูก
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ลำต้น ใช้ประโยชน์ในทางเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่ง ยอดอ่อน ดอกอ่อน และ ผลอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด ส่วน ผลสุกนำมาต้มให้สุกและรับประทานเนื้อข้างใน

อ้างอิง :www.pakwanpa.com/pakwanpa.html: บ้านเรียนรู้การปลูกผักหวานป่า 8 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 71250

www.n3k.in.th ›สมุนไพร

คำสำคัญ
ผัก ผักหวาน
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน ตำบลทาสบเส้า ตำบลทาขุมเงิน
ตำบล ทาขุมเงิน อำเภอ แม่ทา จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง tippawan mattaya อีเมล์ tippawan_mat@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม
เลขที่ 33 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1/พระยืน
ตำบล เวียงยอง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 053-510243 โทรสาร 053-510244
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่