ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 52' 16.4492"
16.8712359
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 7' 45.5146"
99.1293096
เลขที่ : 17811
ลูกกัลปพฤกษ์
เสนอโดย Manop Chuenphakdi วันที่ 28 มกราคม 2554
อนุมัติโดย virach วันที่ 28 มกราคม 2554
จังหวัด : ตาก
1 1440
รายละเอียด
ลูกกัลปพฤกษ์ ความเป็นมาแต่ดั้งเดิม คือ ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ข้างในสําหรับโปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ให้คนสอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น หรือเป็นชื่อต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จ ตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทําขึ้นเนื่องในการทิ้งทานใน งานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้น กัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กํามพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจํา กํามพฤกษ์บังคมไหว้ คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในชีวิตเพราะต้นกัลปฟฑกษ์ เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความชัยชนะ และความอิสระแห่งผล นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ของเทพเจ้า เพราะต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ไม้ทิพย์มีคุณวิเศษตามตำนานพระพุทธเจ้าในสมัยโบราณดังนั้นต้นกัลปพฤกษ์จึงเป็นไม้มงคลนาม สมัยโบราณจึงได้มีการทำรูปแบบจำลองต้นกัลปพฤกษ์ต้นไม้สารพัดนึกขึ้น โดยเกี่ยวเนื่องกับงานที่เป็นพิธีหลวง บางโอกาสเพื่อใช้เป็นที่ติดเงินปลีกสำหรับทิ้งทานให้แก่คนยากจน ตัวอย่างเช่น งานพระราชทานเพลิงพระศพหรือศพ เช่น การพระราชทานเพลิงศพท้าวสมศักดิ์ ที่วัดสุวรรณาราม ในรัชกาลที่ ๑ มีหมายรับสั่งว่า “อนึ่ง ให้สมุห์บัญชีจัตุสดมภ์เบิกไม้ไปทำโรงโขนโรงหุ่น แล้วให้จัดแจงต้นกัลปพฤกษ์ไม้เสียบลูกกัลปพฤกษ์ แลกระไดขึ้นต้นกัลปพฤกษ์ให้พร้อม” กับ “ให้เกณฑ์ผลมะกรูด ผลมะนาว ขุนหมื่นเข้าส้มทิ้งทาน ตำรวจรักษาต้นกัลปพฤกษ์วันละ ๒ ต้น” จากข้อมูลในพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้พูดถึงเรื่องกัลปพฤกษ์ไว้ว่า "ตามคติโบราณเชื่อกันว่า ต้นกัลปพฤกษ์มีอยู่ในแดนสวรรค์ หากผู้ใดปรารถนาสิ่งใด ก็อาจจะไปนึกเอาจากต้นไม้นี้ได้"“ ทั้งนี้ โครงพุ่มของต้นกัลปพฤกษ์ โดยทั่วไปมักทำเป็นโครงไม้ผูกเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ แต่ละชั้นจะติดลูกมะนาว มะกรูด ซึ่งเจาะให้เป็นรูใส่เงินปลีกไว้ข้างใน ใต้พุ่มทำยกพื้นขึ้นเสมอระดับตา ใช้เป็นที่ยืนทิ้งทาน เมื่อถึงเวลาทิ้งทาน พนักงานซึ่ง “นุ่งสมปักลายเสื้อครุย สวมลอมพอก” จะพาดกระไดขึ้นไปยืนอยู่บนยกพื้นใต้พุ่มต้นกัลปพฤกษ์ แล้วดึงลูกส้ม มะนาว มะกรูด ที่เสียบปลายไม้ที่เหลาเรียวยาวคล้ายคันเบ็ด วัดเหวี่ยงให้ลูกส้มปลิวไปตกห่างๆ ต้นกัลปพฤกษ์ คนที่รออยู่ข้างล่างก็จะกลุ้มรุมเข้าชิงลูกส้มกันอย่างสนุกสนาน กัลปพฤกษ์หรือต้นไม้สารพัดนึกจำลองนี้ จัดเป็นสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วยศิลปลักษณะประเภทหนึ่ง เป็นประเพณีนิยมที่มีแต่โบราณ แล้วค่อยเสื่อมความนิยมลงในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ต่อมาในระยะหลังๆ ก็ยังจัดทำต้นกัลปพฤกษ์จำลองขึ้นอีก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานศพแล้ว แต่จะเป็นงานเทศกาลรื่นเริง เช่น ปีใหม่ ก็จะนำสลากของขวัญไปติดไว้ที่ต้นกัลปพฤกษ์ ให้ผู้ร่วมงานได้สอยกัลปพฤกษ์รับของขวัญกันเป็นที่สนุกสนาน มานพ ชื่นภักดิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ อ้างอิง : ลานธรรมจักร ต้นไม้ในพุทธประวัติ., (ระบบออนไลน์) http://www.dhammajak.net.,๒๕๕๔.
สถานที่ตั้ง
นางสอิ้ง น้อยบ้านป่า
เลขที่ 489
ตำบล ระแหง อำเภอ เมืองตาก จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองตาก
บุคคลอ้างอิง นางสอิ้ง น้อยบ้านป่า
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก อีเมล์ takculture@gmail.com
ถนน พหลโยธิน
ตำบล หนองหลวง อำเภอ เมืองตาก จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63000
โทรศัพท์ 055517722 โทรสาร 055517646
เว็บไซต์ www.takculture.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่