ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 22' 1.3962"
16.3670545
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 29' 19.2332"
103.4886759
เลขที่ : 179559
คุณพ่อทองม้วน ภูสง่า ภูมิปัญญาชาวบ้านหมอน้ำมันงา
เสนอโดย เสาวคนธ์ ชนะบุญ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย mculture วันที่ 17 สิงหาคม 2559
จังหวัด : กาฬสินธุ์
7 6402
รายละเอียด

คุณพ่อทองม้วน ภูสง่า ภูมิปัญญาขาวบ้านหมอน้ำมันงา

บ้านหนองบัวหน่วย หมู่ที่ ๑๖ ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
อายุ ๗๒ ปี
คุณพ่อเล่าว่า สมัยก่อนตามพ่อไปรักษาชาวบ้าน ไม่ว่าจน หรือรวย พระสงฆ์ ชาวบ้าน รักษาหมด โดยไม่เรียกร้องค่าจ้าง เพราะสมัยก่อน คนอีสานเชื่อว่า เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะไปหาหมอพื้นบ้าน โดยมากเป็นหมอน้ำมันงา เสกเป่าด้วยคาถาเวทมนต์ คือเป็นการรักษาแบบดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งหมอชาวบ้านเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่น และมีบทบาทสำคัญในหมู่บ้าน ดูแลสุขภาพของชาวบ้านอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับวัฒนธรรมความเชื่อที่ชาวบ้านยึดถือปฏิบัติ หากได้รับโอกาสและการส่งเสริมที่เหมาะสม ย่อมสามารถแบ่งเบาภาระของแพทย์แผนปัจจุบันได้
ปัจจุบัน คุณพ่อรักษาชาวบ้านตลอดทั้งวัน โดยมีผู้ช่วย ๓ คน ผู้ชาย ๒ คน ผู้หญิง ๑ คน สำหรับคุณแม่ เป็นผู้จัดทำเครื่องบูชา ขันดอกไม้ ขันหมากเบง และเป็นผู้ช่วยในการรักษาด้วยผ้าขาวม้า ผู้ป่วยท่านใดสนใจสอบถามการรักษาได้ ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑๐๕๙๘๑๓๗

ความสำคัญและประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น (หมอพื้นบ้าน)

๑.รูปแบบและวิธีการรักษาไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่แบ่งแยกสถานะของผู้ป่วยและเป็นกันเอง
๒.ไม่เรียกร้องค่าจ้างรางวัล หรือค่ารักษาพยาบาล ถ้าให้ก็ถือว่าเป็นค่าสมนาบุญคุณ พ่อหมอ
๓. คุณสมบัติของหมอที่ต้องสร้างความศรัทธาและน่าเชื่อถือ คือ ผู้ที่จะสืบทอดวิชาหมอพื้นบ้านนี้ จะต้องผ่านการบวชเรียนมาก่อน
๔.ความพึงพอใจในรูปแบบการบริการ

ขั้นตอนการถ่ายทอดความรู้และวิธีการรักษา

๑.การตั้งคาย (ค่าบูชา) ขัน ๕ ประกอบด้วย ดอกไม้ขาว ๕ คู่ เทียน ๕ เล่ม เงินสตางค์แดง ๓ สตางค์ ผ้าซิ่น แพรวา ยกวันอังคาร
๒.การวินิจฉัยโรค เป็นกรรมวิธีของหมอ ดูจากการป่วย เช่น กระดูกหัก แตกร้าว หลุด เส้น เอ็น ข้อ กระดูก เป็นต้น (การวินิจฉัยดูภาพองค์รวมของอาการป่วย)
๓.การรักษา ใช้น้ำมันทา เป่าเสกคาถา ถ้ากระดูกหัก แตก ร้าวหลุด จะเข้าเฝือกไม่ไผ่ กระดูกสันหลังเอว ไหล่ ขา แขน ใช้ผ้าขาวม้าช่วยยึด ผูกเพื่อสานกระดูกให้เข้าที่อย่างเดิม แล้วแต่อาการนั้น ๆ

๔.คะลำ (ข้อห้าม) ห้ามนอน ห้ามกิน ๑๐ อย่าง คือ
นอน ๔= ๑.ที่นอนราบ ไม่นุ่ม ๒.หมอนไม่หนุนรองด้วยผ้านุ่มบาง ๆ ๓.อู่แขวน ๔.เปล เก้าอี้
กินอาหารแสลง ๖ อย่าง= ๑.ไข่ ๒.ไก่ (สัตว์ปีก) ๓.หน่อไม้ ๔.ปลาไหล
๕.เครื่องใน ๖.สุราเมรัย

๕.การปลงคาย หรือสมนาคุณ (มีผู้ป่วยขอบูชาน้ำมัน ไม่ต้องตั้งคาย) แต่ถ้าผู้ป่วยอาการหนักมาก เมื่อหายป่วยแล้ว ก็จะทำการยกเครื่องบูชาครู ด้วย ผ้าซิ่น แพรวา ขัน ๕ และเงินค่าสมนาคุณตามฐานะ หรือแล้วแต่จะบูชา ไม่เรียกร้อง

ปัจจุบันคุณพ่อทองม้วน ใช้บ้านที่พักอาศัยที่บ้านหนองบัวหน่วย เป็นที่รักษาชาวบ้านที่มา คุณพ่อเล่าว่า มีผู้ป่วยทุกชาติ ทุกภาษา ที่ได้ยินคำเล่าลือปากต่อปาก ต่างเดินทางมารักษา แต่หากเป็นพระสงฆ์ที่อาพาธ พ่อจะเดินทางไปรักษาให้ถึงที่วัด เนื่องจากพ่อเล่าว่าพระสงฆ์ท่านเดินทางมาลำบาก

แต่การสืบทอด คุณพ่อเล่าว่า ได้ถ่ายทอดให้ลูกชายของท่านไป (ซึ่งข้อแม้ก็คือต้องบวชเรียนก่อน) เสร็จแล้ว หากจะมีคนถ่ายทอดต่อ ก็ให้สืบต่อจากลูกชายท่านอีก ๑ ต่อ โดยไม่ถ่ายทอดให้คนหลายคนเนื่องจากขอสงวนไว้คนในตระกูลของท่านก่อนนั่นเอง
ด้วยความขอบคุณ

สถานที่ตั้ง
บ้านหนองบัวหน่วย
หมู่ที่/หมู่บ้าน 16
ตำบล นาดี อำเภอ ยางตลาด จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
คุณพ่อทองม้วน ภูสง่า
บุคคลอ้างอิง นางเสาวคนธ์ ชนะบุญ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ถนน ยางตลาด - ขอนแก่น
ตำบล กาฬสินธุ์ อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46000
โทรศัพท์ 043815806 โทรสาร 043811394
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 6 มีนาคม 2556 เวลา 16:54
ดีมาก ให้เจ้าของข้อมูลทราบและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่