ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 13' 11.6458"
18.2199016
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 10' 44.8205"
103.1791168
เลขที่ : 180438
หมากเบน(ตะขบป่า)
เสนอโดย boonnoon วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย หนองคาย วันที่ 7 มีนาคม 2557
จังหวัด : หนองคาย
0 1843
รายละเอียด

เป็นต้นไม้ที่รู้จักกันทั่วไปในภาคอีสาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ที่หาทานได้ยาก พบในภาคอีสานมี 2 ชนิด คือเบนป่าและเบนโคกที่เรียกแตกต่างกันนั้นเพราะวัฒนธรรมการเรียกชื่อต้นไม้ตามถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกันนั่นเอง

เบนโคกมักพบตามป่าเต็งรัง เป็นพืชทนแดดแต่เบนป่าพบได้ตามป่าดิบแล้ง สำหรับเบนโคกมีชื่อสามัญในภาษาไทยที่เอ่ยขึ้นมาย่อมรู้จักกันดี คือ “ ตะขบป่า ” และมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ถือเป็นนักบริหารบ้านเมืองทีเดียว ชื่อว่า“Governor's Plum ” แต่ชื่อทางการตามภาษาวิทยาศาสตร์ว่าFlacourtia indica(Burm. F.) Merr.

เบนโคกหรือตะขบป่าแต่ชาวบ้านมักเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า หมากเบน จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 10 เมตร เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทั้งเอเชียและอาฟริกาและเป็นต้นไม้ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีสีของใบเป็นสีเขียวจัดเป็นมันคล้ายหนัง ในส่วนของลำต้นมีหนามแหลมและแข็งเบนเป็นไม้โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ออกลูกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกจะมีสีแดงมีผิวมันและเมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงดำ เนื้อของผลเป็นสีเหลืองอมส้มเข้มภายในผลมีเมล็ดแบน ๆ อยู่ประมาณ 8-10 เมล็ด ถ้ายังไม่สุกเต็มที่จะมีรสฝาดแต่เมื่อสุกเต็มที่จะมีรสหวานอมเปรี้ยว ในต่างประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นต้นวัชพืช ขึ้นได้ดีในสภาพดินหลาย ๆ แบบและในบางครั้งพบในที่ดินเค็มด้วยในชนบทบางประเทศนิยมนำกิ่งไปทำเป็นรั้วหรือปลูกทำเป็นรั้ว เนื่องจากมีหนามแหลมชาวต่างชาตินิยมนำผลสุกมาทำเป็นแยมหรือเยลลี่ มีคุณภาพดีรสอร่อยมาก

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่า ผลของเบนหรือตะขบป่ามีวิตามินซีธาตุเหล็กและสารต้านอนุมูลอิสระอยู่สูง เขานำมาทำเป็นอาหารเสริมสุขภาพแต่ใครที่คิดจะปลูกลูกเบนเป็นอาชีพขอแนะนำว่าต้นเบนเป็นพืชที่แยกต้นตัวผู้และตัวเมีย ดังนั้นถ้าต้องการปลูกเพื่อเก็บผลควรระวังเรื่องสัดส่วนของต้นตัวผู้และต้นตัวเมียด้วย มีการใช้ทางยาสมุนไพรคือ ใช้ลำต้นเข้ายาแก้โรคอีสุกอีใสแก่นไม้และรากนำไปต้มดื่มรักษาโรคไตพิการ หรือแก่นไม้ต้มดื่มแก้ท้องร่วง บิดเป็นยาขับเหงื่อ เบนโคกหรือตะขบป่าที่กำลังพูดถึงนี้หากดูภาพจากตำรามักเกิดการสับสนกับเบนป่า เพราะรูปคล้ายกันแต่ถ้าใครเดินป่าสำรวจกันจริงๆ จังๆ พบว่ามีความแตกต่างกันมาก

(ยังไม่ผ่านการรับรองผลจากสถาบันใด หากจะนำไปใช้ทำยาควรใช้วิจารณญาน

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
หมากเบน
ตำบล รัตนวาปี อำเภอ รัตนวาปี จังหวัด หนองคาย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางฐิตาวรีย์ อินทร์ตาแสง
บุคคลอ้างอิง รัตนวาปี หนองคาย อีเมล์ mesa_001@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่