ชุมชนบ้านกว้านเดิมทีมีชื่อว่า บ้านเชียงหมั้น มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานคู่กับประวัติศาสตร์เมืองพะเยา เป็นหมู่บ้านประวัติศาสตร์ ดังความปรากฏในหนังสือ ประวัติเมืองพะเยาของหลวงพ่อราชวิสุทธิโสภณ (ปวงธมฺมปญฺโญ) ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา ใจความว่า
“เมืองพะเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีเอกราชสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันติวงศ์มาจากพระเจ้าลวจังคราช ปฐมกษัตริย์แห่งนครเงินยาง เชียงแสน ปรากฏตามตำนานเมืองพะเยาดังนี้ พุทธศักราช ๑๖๐๒ พ่อขุนเงินหรือลาวเงิน กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยาง เชียงแสน มีพระโอรส ๒ พระองค์ คือ ขุนชินและขุนจอมธรรม เมื่อพระราชโอรสทั้งสอบเจริญวัยขึ้นพระราชบิดาทรงพิจารณาเห็นว่าถ้าจะให้ราชบุตรอยู่ในราชอาณาจักรเดียวกันต่อไปก็จักเป็นข้าศึก จึงแบ่งราชสมบัติเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่๑ ให้แก่ขุนจอมธรรม บุตรคนที่๒ ให้ไปครองเมืองภูกามยาว(พะเยา) อีกส่วนหนึ่งทรงมอบให้ขุนชินโดยให้อยู่ในราชสำนักเพื่อครองนครเงินยางต่อไป
หลังจากพ่อขุนเงินแบ่งราชสมบัติออกแล้ว จึงตรัสสั่งให้ข้าราชการบริวารของขุนจอมธรรม ขนเอาพระราชทรัพย์ขึ้นบรรทุกบนต่างม้า รับสั่งให้พลช้าง พลม้า ราชบริวาร ตามเสด็จขุนจอมธรรมถึงเมืองภูกามยาว เมื่อถึงแล้วทรงหยุดพักอยู่ที่บ้านเชียงหมั้น(บ้านกว้าน) ช้างดอยจุก รวมเวลาเสด็จได้ ๗ วันเมื่อทรงพักผ่อนพอสมควรแล้ว จึงตรัสสั่งให้พันธเสนาและปุโรหิตาจารย์ ชื่อ สามผญา ไปตรวจดูภูมิสถานที่จะตั้งเมืองขึ้นใหม่ ฝ่ายขุนจอมธรรมทรงรับสั่งให้ข้าราชการบริวารและราษฎรในหมู่บ้าน ช่วยกันขุดร่องน้ำจากแม่น้ำสายตา(แม่น้ำอิง) เพื่อประโยชน์แก่การใช้สอยและสำหรับสัตว์พาหนะ ร่องน้ำแห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า แม่เหมือง จนทุกวันนี้”
หลักฐานจากตำนานเมืองพะเยานี้ จะเห็นว่าบ้านเชียงหมั้น หรือบ้านกว้านนี้ได้ตั้งอยู่ก่อนที่ขุนจอมธรรมจะเสด็จมาสู่เมืองภูกามยาว(พะเยา) เสียอีก ดังนั้นจึงอยากที่จะหาหลักฐาน การก่อตั้งหมู่บ้านที่แน่นอนได้ แต่ก็พอประมาณได้ว่า อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าพุทธศักราช ๑๖๐๐ จาก การสืบถามผู้เฒ่า ผู้แก่ เหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านกว้าน ก็เพราะว่า สมัยก่อนมีพระเจ้าองค์แรก คือ เจ้ากว้าน ครั้งนั้นมีการจัดบุญบั้งไฟที่สันกู่ แล้วก็จุดบั้งไฟขึ้นบนฟ้า แต่บั้งไฟกลังไม่ตกลงมาเป็นเวลา ๗ วัน จึงได้ถามเทพจึงรู้ว่า ข้างบนเขาต้องการพระ หรือ เณร เมื่อได้ทราบดังนั้นจึงได้ถวายชีวิตเสียสละ แล้วก็นำ ผ้าผืนเล็กมาล้อมรอบแล้วท่านก็ไปนั่งอยู่ตรงกลาง พอวันที่ ๘ บั้งไฟได้ตกลงมากกลางศีรษะของท่าน ท่านได้มรณภาพทันที ชาวบ้านจึงนำศพของท่านฝังตรงที่ท่านมรณภาพ เพราะท่านยอมถวายชีวิตเสียสละแก่ทุกคน จึงได้ชื่อบ้านตามชื่อของท่านคือ บ้านกว้าน
เดิมชื่อว่าบ้านกว้าน หมู่ที่ 21 ต.ดงเจน อ.เมือง จ.พะเยา และต่อมา พ.ศ. 2520 จ.พะเยาได้แยกพื้นที่
ออก และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า กิ่งอ.ภูกามยาว จ.พะเยา และเนื่องจากชุมชนบ้านกว้านในขณะนั้นมีประชากรอาศัยอยู่อย่าง หนาแน่น เพื่อเป็นการง่ายต่อการปกครอง ชุมชนบ้านกว้านจึงแยกหมู่บ้านออกเป็นหลายๆหมู่บ้านในขณะนั้นบ้านกว้านสันติสุข หมู่ที่ 13 ต.ดงเจน กิ่งอ.ภูกามยาว และต่อมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550
กิ่งอ.ภูกามยาวได้ยกฐานะเป็น อ.ภูกามยาว จ.พะเยา จนถึงปัจจุบัน
การดำรงตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
1.นายศรี ชวนคิด พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2541 2.นายสีคำ ตันกูล พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2545 3.นายแก้ว ทิศสุกใส พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2546 4.นายสมศักดิ์ ฟักแก้ว พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2552 5.นายทัน ธะนู พ.ศ. 2552 ถึง ปัจจุบัน
จำนวนประชากร
จำนวนครัวเรือน 270 ครัวเรือน
ประชากร 720 คน
ชาย 365 คน
หญิง 355 คน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านกว้านเหนือ หมู่ที่ 4
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านกว้านกลาง และ บ้านกว้านใต้
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านกว้านเหนือ และ เขตตำบลแม่อิง
. ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขต อบต.ดงเจน
ภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ไม่เท่ากัน ทางทิศตะวันตกติดกับภูเขาและเป็นที่ราบสูง ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นที่ต่ำติดกับ ลำเหมืองและทุ่งนา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทำไข่เค็มไอโอดีน และไม้ดอกไม้ประดิษฐ์ ทำข้าวกล้อง
งานประเพณีภายในหมู่บ้าน
ประเพณีขึ้นปีใหม่ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ประเพณีวันเข้าพรรษา – ออกพรรษา
ประเพณีทำบุญสลากภัตร์ ประเพณีลอยกระทง